นักดาราศาสตร์ทำการตรวจจับไอน้ำเหนือพื้นผิวดวงจันทร์น้ำแข็ง “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสได้เป็นครั้งแรก
“น้ำ” คือสารประกอบสำคัญลำดับบนสุดเหนือสารประกอบหรือธาตุใดๆเมื่อเราเอ่ยถึงสิ่งที่จำเป็นพื้นฐานในการก่อเกิดชีวิต
ที่แล้วมามีการตรวจพบ “ละอองน้ำ” ที่พ่นออกมาจากผิวของดวงจันทร์เอนเซลาดัสบริวารดาวเสาร์ โดยอุปกรณ์ของยานแคสสินี แต่สำหรับดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส ยังเป็นเพียงข้อสมมุติฐานที่ใช้ข้อมูลการสำรวจจากยานกาลเลโอในอดีตเท่านั้น ไม่มีการตรวจพบสารประกอบน้ำจริงๆโดยยานอวกาศลำใด
ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จาก NASA นำโดย ดร.ลูคัส ปาปากินี (Lucas Paganini) ไดใช้อุปกรณ์ที่มีชื่อว่า NIRSPEC ซึ่งเป็นสเปคโตรกราฟในย่านความถี่ใกล้อินฟราเรดที่ติดตั้งอยู่ในกล้องโทรทรรศน์ Keck II ขนาดหน้ากล้อง 10 เมตร ที่หอสังเกตการณ์ WM Keck บนเทือกเขามัวนาคี รัฐฮาวาย ทำการวัดองค์ประกอบทางเคมีของชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ยูโรปา และได้พบความถี่ที่เฉพาะเจาะจงของแสงอินฟราเรดเมื่อพวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับโมเลกุลของน้ำระหว่างที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์
โมเลกุลน้ำที่พบไม่ได้อยู่ในรูปละอองน้ำ แต่อยู่ในรูปของไอน้ำ ตลอด 17 วันที่ทำการตรวจวัดจากช่วงปี 2016-2017 ทีมงานพบการปล่อยละอองน้ำของยูโรปาน้อยครั้งมาก แต่ปล่อยออกมาครั้งละไม่น้อย นั่นคือปริมาณ 2,095 ± 658 ตัน
การยืนยันว่ามีน้ำบนดวงจันทร์ยูโรปาอย่างแน่นอน จุดประกายความหวังในการสำรวจดวงจันทร์ดวงนี้เพื่อหาชีวิตนอกโลกในโครงการต่างๆที่กำลังวางแผนที่จะส่งไปในอานาคต เช่นยาน Europa Clipper และ JUICE เป็นต้น
ทีมงานได้ตีพิม์ผลการค้นพบนี้ Journal Nature Astronomy ฉบับล่าสุด
เรียบเรียงโดย @MrVop