ตามเอกสารโต้ตอบ ระหว่าง Jitendra Singh รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้ดูแลกรมพลังงานปรมาณูและกรมอวกาศ กับทางสภาผู้แทนราษฎรของอินเดีย ยานแลนเดอร์ “วิกรัม” ลงสู่ผิวดวงจันทร์แบบ Hard Landing ไม่ใช่ Soft Landing ซึ่งหมายถึงญาณได้พุ่งชนผิวดวงจันทร์เสียหาย ในการพยายามลงจอดเมื่อ 7 กันยายนที่ผ่านมา
ในเอกสารนั้นระบุถึงความผิดพลาดของการลงจอดเนื่องจากระบบชะลอความเร็วทำงานไม่ตรงตามที่ออดแบบไว้
ในระหว่างที่ยานแลนเดอร์กำลังลดความสูงจากระดับ 30 กม. ถึง 7.4 กม. ความเร็วของยานควรลดจาก 1,683 เมตรต่อวินาที จนเหลือ 146 เมตรต่อวินาที แต่เครื่องยนต์ชะลอความเร็วของยานไม่สามารถลดความเร็วไปถึงจุดที่ต้องการได้ ยานแลนเดอร์ “วิกรัม” จึงตกกระแทกพื้นดวงจันทร์ ด้วยความเร็วที่สูงเกินกว่าจะรับได้ ทำให้ยานเสียหายไม่สามารถติดต่อกับหอควบคุมบนโลกได้อีกต่อไปและจุดที่ยานตกนั้นอยู่ห่างจุดเป้าหมายลงจอดราว 500 เมตร

การออกมายอมรับว่ายานแลนเดอร์ “วิกรัม” ตกเสียหายในครั้งนี้ แตกต่างจากช่วงแรกๆที่เจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องบางนายของทางการอินเดียยืนยันว่า ยานแลนเดอร์ “วิกรัม” อาจลงจอดได้สำเร็จเพียงแต่ระบบสื่อสารขัดข้อง จนมีการวางแผนที่จะให้ยานโคจร (Orbiter) ที่ยังใช้การได้ หาทางถ่ายภาพเพื่อยืนยัน
ล่าสุดทาง องค์การอวกาศอินเดียหรือ ISRO ได้ออกมาประกาศแล้วว่าจะส่งยานแลนเดอร์ “วิกรัม” ลำใหม่ในโครงการ “จันทรายาน 3” ไปลงผิวดวงจันทร์ให้สำเร็จภายในเดือนพฤศจิกายน ปีหน้าหรือปี 2020 ตามข่าวที่เราเคยเสนอไปแล้ว [กดเพื่ออ่าน]
เรียบเรียงโดย @MrVop