SpaceX จะส่งดาวเทียมสู่วงโคจรด้วยท่อขับดันของจรวดฟอลคอน 9 ที่เคยใช้งานไปแล้ว
พรุ่งนี้เช้ามืด 05:27 ของวันที่่ 31 มี.ค.60 ตามเวลาไทย หรือ 22:27 GMT ของวันที่ 30 มี.ค.60 ตามเวลามาตรญานกรีนิช บริษัท Spacex จะส่งดาวเทียมโทรคมนาคม SES10 ขึ้นสู่วงโคจรด้วยท่อขับดันท่อที่หนึ่ง (first stage) ที่เคยใช้งานไปแล้วของจรวด Falcon 9 และนำกลับมาใช้ใหม่ (ภาพบนแสดงจรวดในโรงเก็บที่พร้อมใช้งานแล้ว ภาพล่างคือขณะที่จรวดท่อนแรกร่อนกลับลงมาจอดหลังปล่อยดาวเทียมสำเร็จเมื่อปีที่แล้ว)
ปกติไม่มีใครใช้ “จรวดมือสอง” กันเลย ที่เราเห็นกระสวยอวกาศของสหรัฐฯบินซ้ำๆนั่นไม่ใช่ท่อนขับกัน แต่เป็นท่อนบนของยานที่มีคนนั่ง ซึ่งท่อนล่างหรือท่อนแรกสุด (first stage) นั้นเป็นส่วนที่รับผิดชอบแรงขับดันมากที่สุดของเที่ยวบิน ใช้แล้วก็ควรปล่อยทิ้งลงทะเล แต่ SpaceX เป็นบริษัทแรกที่คิดนำท่อนแรกสุด (first stage) นี้กลับมารียูส
ครั้งแล้วครั้งเล่าลองผิดลองถูก สุดท้ายจรวดท่อนแรกสุด (first stage) ของฟอลคอน ก็สามารถร่อนกลับมาลงฐานจอดได้เรียบร้อย นั่นคือด่านที่หนึ่ง จากนั้นมันก็ถูกนำไปตรวจสอบสภาพ บรรจุเชื้อเพลิงใหม่ และพรุ่งนี้เช้าจะเป็นครั้งแรกที่จะพิสูจน์แนวคิดนี้ ว่ามันจะบินรอบสองได้จริงๆหรือไม่
ความเสี่ยงนั้นมีสูงแน่นอน และ SpaceX ก็เสนอราคาส่วนลดใการปล่อยดาวเทียมรอบนี้ (เป้าหมายของการรีไซเคิลก็คือค่าใช้จ่ายนะแหละ) โดยทางผู้บริหารของ SES เจ้าของดาวเทียมสัฐชาติอังกฤษที่ผลิตโดย Airbus นี้กลับบอกในทำนองว่าเค้าพร้อมจะเสี่ยง เพราะไม่ว่าจะใช้จรวดมือหนึ่ง หรือตรวดมือสอง ก็มีโอกาสผิดพลาดได้ทั้งนั้น ที่ผ่านๆมาการส่งดาวเทียมด้วยจรวดมือหนึ่งก็ผิดพลาดออกจะบ่อย
องค์การอวกาศต่างๆก็เฝ้าสังเกตการส่งดาวเทียมครั้งนี้กันอย่างมีความหวังในใจ เพราะทุกรายตั้งแต่ NASA ไปถึง Jeff Bezos แห่งอะเมซอน และองค์การอวกาศอื่นๆ ต่างก็มีแผนลดค่าใช้จ่ายในการส่งยานสู่อวกาศด้วยกันทั้งนั้น หากเส้นทางของ SpaceX ได้ผล หนทางข้างหน้าคงสดใส
อ้างอิงและเครดิตภาพ https://spaceflightnow.com/2017/03/29/spacex-ready-to-put-rocket-reuse-vision-to-the-test/
เรียบเรียงโดย @MrVop
***เพิ่มเติม SpaceX สามารถส่งจรวดได้ตรงเวลาในเช้าวันที่ 31 มีนาคม 60 จรวดท่อนแรกสุด (first stage) สามารถทำงานได้เรียบร้อยและกลับลงมาจอดบนฐาน ทำให้เกิดคำถามต่อไปว่ามันจะทำงานในรอบที่ 3 ได้อีกหรือไม่