ในปี 2019 หรือ 2562 มวลมนุษยชาติมีกิจกรรมสำรวจอวกาศ (ที่ยืนยันแล้ว) ดังต่อไปนี้
7 มกราคม เวลาไทย 22:53 บริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียมอิริเดียม NEXT 66-75 ด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก
17 มกราคม เวลาไทย 07:50 ญี่ปุ่นจะส่งดาวเทียม 7 ดวงด้วยจรวดเอพซิลอน สถานีสังเกตการณ์อวกาศอุจิโนอุระ (内之浦宇宙空間観測所) จังหวัดคาโงชิมะ
18 มกราคม เวลาไทย 07:00 บริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียม SpX-DM1 ด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานปล่อยหมายเลข LC-39A ศูนย์อวกาศเคเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
23 มกราคม ISRO และอาหรับ จะส่งดาวเทียม 3 ดวงด้วยจรวด Ariane 5 จากศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรู เฟรนช์เกียนา
26 มกราคม เวลาไทย 06:40 ทอ.สหรัฐฯ จะส่งดาวเทียมทหาร WGS-10 ด้วยจรวด Delta IV M+(5,4) จากฐานปล่อย SLC-37B ศูนย์อวกาศเคนเนดี แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
31 มกราคม องการอวกาศอินเดีย ISRO จะปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ จันทรยาน-2 ด้วยจรวด GSLV Mk III จากศูนย์อวกาศสาทิตตาวัน ในเมืองศรีหริโคตา
7 กุมภาพันธ์ NARSS อียิปต์ จะปล่อยดาวเทียม EgyptSat A ด้วยจรวด Soyuz-2.1b จาก ศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน
7 กุมภาพันธ์ บริษัท OneWeb จะส่งดาวเทียม OneWeb × 10 ด้วยจรวด Soyuz ST-B ติดตั้งโมดูลที่ส่วนหัว Fregat-MT จากศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรู เฟรนช์เกียนา
13 กุมภาพันธ์ บริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียม 2 ดวง ยานอวกาศ 1 ลำ คือยาน Sparrow ของอิสราเอล ด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานปล่อย SLC-40 ศูนย์อวกาศเคนเนดี แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
18 กุมภาพันธ์ บริษัท SpaceX จะส่งดาวเทียม RADARSAT ขององค์การอวกาศแคนาดา Canadian Space Agency ด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานทัพอากาศแวนเดนเบิร์ก
28 กุมภาพันธ์ นักบินอวกาศเที่ยวบินที่ 59/60 จะออกเดินทางไปกับยาน Soyuz MS-12 ขับดันโดยจรวด Soyuz-FG จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน เพื่อไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติ
28 มีนาคม ยาน Progress MS-11 บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวด Soyuz-2.1a จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน
17 เมษายน ยาน Cygnus NG-11 บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวด Antares 230 จากศูนย์อวกาศ MARS บนเกาะ Wallops รัฐเวอจิเนีย
7 พฤษภาคม ยานดรากอน ของ SpaceX บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานปล่อยในศูนย์อวกาศเคเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
5 มิถุนายน ยาน Progress MS-12 บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวด Soyuz-2.1a จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน
24 กรกฏาคม นักบินอวกาศเที่ยวบินที่ 60/61 จำนวน 3 นาย จะออกเดินทางไปกับยาน Soyuz MS-13 ขับดันโดยจรวด Soyuz-FG จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน เพื่อไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติ
4 กันยายน ทดสอบยาน Soyuz MS-14 แบบไม่มีผู้โดยสาร ขับดันโดยจรวด Soyuz-FG จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน
1 ตุลาคม Cygnus NG-12 บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวด Antares 230 จากศูนย์อวกาศ MARS บนเกาะ Wallops รัฐเวอจิเนีย
2 ตุลาคม SpaceX จะเริ่มทดสอบส่งนักบินอวกาศโดยยาน ดรากอน-2 เป็นเที่ยวบินแรก ด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานปล่อยในศูนย์อวกาศเคเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
8 ตุลาคม นักบินอวกาศเที่ยวบินที่ 61/62 จำนวน 3 นาย จะออกเดินทางไปกับยาน Soyuz MS-15 ขับดันโดยจรวด Soyuz-FG จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน เพื่อไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติ เป็นการใช้งานจรวด Soyuz-FG เป็นครั้งสุดท้าย ครั้งต่อไปจะใช้ จรวด Soyuz-2.1a ตลอด
15 ตุลาคม ยานดรากอนเที่ยวบิน CRS-19 ของ SpaceX บรรทุกสัมภาระและอุปกรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์ รวมทั้งชิ้นส่วนแอร์ล็อคตัวใหม่จาก NanoRacks Airlock Module จะเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติด้วยจรวดฟอลคอน 9 จากฐานปล่อยในศูนย์อวกาศเคเนดี้ แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา
15 ตุลาคม อิตาลีจะส่งดาวเทียม COSMO-SkyMed ด้วยจรวด Soyuz ST-B ติดตั้งโมดูลที่ส่วนหัว Fregat-MT จากศูนย์อวกาศเกียนาที่เมืองกูรู เฟรนช์เกียนา
8 พฤศจิกายน รัสเซียจะส่งโมเูล Nauka ขึ้นไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ โดยจรวด Proton-M จากศูนย์อวกาศไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถาน เพื่อไปประจำการบนสถานีอวกาศนานาชาติ
21 พฤศจิกายน อังกฤษจะส่งยาน Lunar Pathfinder ด้วยจรวด PSLV จากศูนย์อวกาศสาทิตตาวัน ในเมืองศรีหริโคตา ประเทศอินเดีย
เรียบเรียงโดย @MrVop