ดาวหางที่มีชื่อเสียงที่สุดที่จะปรากฏให้เราเห็นด้วยตาเปล่าทุก 75-76 ปี ครั้งล่าสุดคือปี 1986 และครั้งต่อไปคือราว กลางปี ค.ศ. 2061
เรียกว่าช่วงชีวิตของเราต้องมีซักครั้งที่มีโอกาสเห็นดาวหางดวงนี้ บางคนที่อายุยืนอาจได้เห็นถึง 2 ครั้ง และถึงมันจะไม่สว่างมากเท่าดาวหางคาบยาวรุ่นหลังบางดวง แต่ฮัลเลย์ก็เป็นดาวหางสว่างในยุคแรกตั้งแต่หลายร้อยปีก่อนที่มนุษย์เรารู้จัก

ดาวหางฮัลเลย์มีชื่อตามระบบการตั้งชื่อว่า 1P/Halley มีวงโคจรเป็นวงรี ไกลออกไปจนเลยวงโคจรดาวอังคาร วงโคจรของดาวหางดวงนี้จะตัดกับวงโคจรโลกเรา 2 ครั้ง ดังนั้น เมื่อโลกเราโคจรไปถึงจุดตัดในทุกปี ครั้งแรกคือเดือนพฤษภาคม และครั้งที่สองในเดือนตุลาคม แน่นอนว่าเราอาจไม่ได้เห็นดาวหางฮัลเลย์เพราะยังไม่ถึงปีที่มันจะกลับมา แต่เราจะพบเศษฝุ่นที่ดาวหางดวงนี้เหลือทิ้งเอาไว้ ซึ่งจะหล่นเข้ามาในบรยากาศโลก เรียกว่า “ฝนดาวตก” นั่นเอง
ฝนดาวตกที่เกิดจากดาวหางฮัลเลย์ในเดือนพฤษภาคม เรียกว่า ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ส่วนฝนดาวตกในเดือนตุลาคม เรียกว่า ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวนายพราน

แล้วกลุ้มดาว คนแบกหม้อน้ำ กับนายพราน มาเกี่ยวอะไร?
เนื่องจากบนฟ้าไม่ม่เครื่องหมายอะไร เวลาเราจะอ้างถึงปรากฏการร์ต่างๆในรอบปีเราจึงต้องอ้างอิงถึงกลุ่มดาวที่เป็นฉากหลังของท้องฟ้าในคืนวันนั้น และจุดที่โลกโคจรตัดกับเส้นทางของดาวหางฮัลเลย์ในทุกปีคือวันที่ 21-22 ตุลาคม เมื่อมองจากโลก ฉากหลังจะเป็นกลุ่มดาวโอไรอัน หรือกลุ่มดาวนายพรานพอดี เราจึง”เห็นเหมือนกับว่า” ฝนดาวตกพุ่งออกมาจากตำแหน่งใกล้แขนกลุ่มดาวนายพรานและเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Orionids หรือ ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวนายพรานนั่นเอง
สำหรับการรอชมฝนดาวตกนี้อาจต้องหาสถานที่มืดสนิท ซึ่งไม่ใช่ในเมืองอย่างแน่นอน ปีนี้พระจันทร์จะขึ้นหลังตีหนึ่งค่อนข้างเป็นอุปสรรค และอาจมีเมฆมากในหลายจังหวัด โอกาสเห็นฝนดาวตกนายพรานในไทยจึงค่อนข้างน้อยยกเว้นฟลุ๊กจริงๆอาจได้เห็นดวงใหญ่ซักครั้ง
เรียบเรียงโดย @MrVop