เวลาเราเงยหน้ามองท้องฟ้ายามค่ำคืน เราเห็นหมู่ดาวและมนุษย์ก็จินตรนาการเป็นรูปร่างต่างต่างนานา ผ่านเวลาเนิ่นนานนับพันปีจากอารยธรรมโบราณ ที่ได้ตั้งชื่อหมู่ดาวตามชื่อเทพเจ้าหรือสัตว์ต่างๆในเทพนิยาย แสงจากดาวที่เรามองเห็นนี้คือแสงสว่างตามปกติที่ดวงตามนุษย์รับรู้ได้
แต่หากเรามีแว่นวิเศษที่มองเห็นเฉพาะรังสีแกมมา เรากลับจะเห็นท้องฟ้าแตกต่างออกไป ตรงที่เคยมืดกลับมีดาวปรากฏขึ้น ตรงที่เคยเป็นดาวกลับหายไป กลายเป็นท้องฟ้าแบบใหม่ที่มีหมู่ดาวแตกต่างไปจากที่เราเคยเห็นด้วยดวงตาปกติ และหมู่ดาวที่เห็นในรังสีแกมมาเหล่านี้ ก็สามารถโยงให้เห็นเป็นรูปของวัตถุต่างๆได้เช่นกัน ที่สำคัญมันเป็นของใหม่ที่เพิ่งสำรวจ หลายๆบริเวณก็ยังไม่ได้ตั้งชื่อเรียกเลย
เริ่มจากเดือน ก.ค. 2008 กล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา Fermi’s Large Area Telescope (LAT) ได้เริ่มสแกนท้องฟ้าทุกวันเพื่อค้นหาแหล่งกำเนิดรังสีแกมมากำลังสูง ที่มีตั้งแต่ พัลซาร์, การปะทุของโนวา, ส่วนที่เหลือของซูปเปอร์โนวา และ ฟองแกมมายักษ์ ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา นอกจากนี้ยังรวมไปถึง หลุมดำมวลยวดยิ่ง และ การระเบิดระงสีแกมมา จากนอกกาแล็กซี
พอเวลาล่วงเลยมาถึงปี 2015 กล้อง LAT ได้พบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมากำลังสูงได้กว่า 3,000 แห่ง สามารถเอามาเรียงร้อยเป็นแผนที่ดาวเพื่อกำหนดให้เป็นหมู่ดาวใหม่ๆได้ ตั้งแต่นั้นก็มีการตั้งชื่อแหล่งกำเนิดแกมมาคล้ายการตั้งชื่อหมู่ดาว แต่ไม่เอาพวกเทพเจ้าโบราณ ชื่อทั้งหมดกำหนดเป็นวัฒนธรรมร่วมสมัย หรือสิ่งที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอกในภาพยนต์หรือนวนิยาย
หมู่ดาวในย่านรังสีแกมมาที่กำหนดขึ้นมาใหม่ได้แก่ (บางส่วน) ภูเขาไฟฟูจิ ยักษ์เขียวฮัลค์แห่งมาร์เวล ดาวเทียมเฟอมี กล่องไปษณีย์ หอไอเฟล ใบหน้าของอัลเบิร์ตไอน์สไตน์ ยานยูเอสเอสเอ็นเตอร์ไพรส์ในเรื่องสตาร์เทร็ค
และล่าสุดก็ได้ตั้งชื่อให้แหล่งกำหนดแกมมาในท้องฟ้าทิศเหนือจำนวน 21 ดวง ส่วนใหญ่เป็นเทหวัตถุประเภท เบลซาร์ (Blazar) ด้วยชื่อของไคจูที่โด่งด้งของบริษัทโตโฮผู้สร่้างภาพยนต์ในญี่ปุ่น นั่นคือ “ก็อตซิลลา” นัยว่าสื่อถึงรังสีแกมมาในลำแสงที่มันพ่นออกมาจากปากด้วย
ดาราศาสตร์ก็บันเทิงปานนี้แล
***ท่านสามารถสำรวจท้องฟ้าทั้งในแบบแสงปกติและรังสีแกมมาเพื่อดูหมู่ดาวที่แตกต่างกันผ่านทางแบบจำลองนี้ https://fermi.gsfc.nasa.gov/science/constellations/