ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ ได้เข้าศึกษาวิวัฒนาการของกระดูกเชิงกรานของปลาหลายชนิดในวงศ์ปลาค้ออย่างละเอียดเป็นครั้งแรก และพบการปรับตัวของลักษณะกระดูกเชิงกรานที่ทำให้พวกมันสามารถใช้ครีบในการเกาะ หรือป่ายปีนก้อนหิน หรือแม้แต่เดินไปบนบกได้ไม่ต่างจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
วงศ์ปลาค้อ (Hillstream loachs) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็กชอบอาศัยอยู่ตามต้นน้ำลำธารทั่วไปในทวีปเอเชียและอนุทวีปยูเรเชีย ใช้ชื่อวงศ์ว่า Balitoridae (/บา-ลิ-ทอร์-อิ-ดี้/)
ลักษณะภายนอกของปลาในวงศ์นี้ คือ หัวกลม ลำตัวเรียวยาว ด้านล่างแบนราบ ปากอยู่ใต้จะงอยปาก ไม่มีฟันในลำคอ มีหนวดอย่างน้อย 3 คู่ ไม่มีเงี่ยงแข็งที่บริเวณหน้าหรือใต้ตา ครีบอกและครีบท้องแผ่ออกทั้ง 2 ข้างของลำตัว ใช้สำหรับเกาะยึดติดกับโขดหินหรือวัสดุต่าง ๆ ใต้น้ำเพื่อมิให้ตัวถูกกระแสน้ำพัดพาไหลไป เป็นปลาที่จะอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำที่เป็นต้นน้ำ คือ ลำธารบนภูเขาสูงที่ไหลมาจากน้ำตก ที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ปลาในวงศ์นี้ว่ายน้ำไม่เก่ง แต่สามารถคืบคลานต้านกระแสน้ำบนโขดหินได้เป็นอย่างดี และเป็นดัชนีชี้วัดความสะอาดของแหล่งน้ำบริเวณที่มันอาศัยอยู่
ปลาที่โดดเด่นที่สุดในวงศ์นี้ในความสนใจของทีมวิจัยที่นำโดย ดร. ซาคารี แรนดัล นักชีววิทยาและผู้จัดการพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา คือ ปลาผีเสื้อถ้ำ (Cryptotora thamicola) ที่พบได้เฉพาะในประเทศไทย ที่แถบถ้ำต้นน้ำบนภูเขาในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปลาชนิดนี้มีดวงตาบอดที่สนิท และตัวของมันไม่มีสีสันเลย เนื่องจากอาศัยอยู่ในถ้ำที่ไม่มีแสงสว่าง แต่มันกลับมีความสามารถที่โดดเด่นในการเดินด้วยท่าเดินลำดับข้างคู่ทแยง เหมือนวิธีเดินของสัตว์ 4 ขาบนบก

Image credit: Zach Randall, Florida Museum of Natural History / Brooke Flammang, New Jersey Institute of Technology.
“ปลาชนิดนี้น่าสนใจมาก ดวงตาของมันบอดสนิท เราไม่รู้ว่ามันหาอาหารได้อย่างไร จับคู่ผสมพันธุ์อย่างไร แต่ที่เรารู้คือมันสามารถ ใช้ครีบของมันเกาะกับหินและสามารถเดินข้ามไปมาระหว่างแหล่งน้ำต่างๆรอบบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีน้ำไหลเชี่ยวแบบน้ำตก เพื่อเอาตัวรอดจากแหล่งน้ำบางแหล่งที่อาจแห้งลงในฤดูแล้ง” ทีมงานอธิบาย
“ โดยปกติแล้วปลาจะไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังและครีบเชิงกราน” ดร. แรนดอลล์กล่าว แต่ปลาในวงศ์ปลาค้อหลายชนิดมีวิวัฒนาการที่ต่างออกไป ยกตัวอย่างเช่นปลาผีเสื้อถ้ำที่พบเฉพาะในไทยนี้ มีกระดูกเชิงกรานที่แข็งแรงมาก จากภาพไมโครซีทีสแกน เราพบกระดูกโอบเชิงกรานแข็งแร็งติดอยู่กับแนวกระดูกสันหลัง นั่นคือวิวัฒนาการที่ทำให้มันเดินได้แบบนี้
ทีมงานได้วิเคราะห์โครงสร้างกระดูกของปลาในวงศ์ปลาค้อแถบต้นน้ำ 29 ชนิดและพบว่ามีอีก 10 ชนิดที่มีกระดูกเชิงกรานแข็งแรงคล้ายปลาผีเสื้อถ้ำที่มีดวงตาบอดสนิทนี้ ซึ่งทางทีมงานคิดว่าอาจเป็นสิ่งที่ส่งผ่านมาทางพันธุกรรมมากกว่า มากกว่าสัณฐานวิทยาที่เฉพาะเจาะจง
ถือว่าประเทศไทยเรามีของดี ที่รอให้ค้นพบอยู่อีกมาก
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร Journal of Morphology