ผลการคำนวนใหม่ล่าสุด พบว่าระบบสุริยะของเราอยู่ใกล้หลุมดำมวลมหาศาล Sagittarius A* บริเวณใจกลางกาแล็กซียิ่งกว่าที่เคยรู้กันมา 2,000 ปีแสง
เรื่องราวที่ค้นพบใหม่ในครั้งนี้ได้ไม่ได้หมายความว่าโลกเราอยู่ในเส้นทางการพุ่งเข้าหาหลุมดำยักษ์ ทั้งหมดที่เรากำลังจะบอกคือเราเพิ่งคำนวนระยะทางที่ชัดเจนยิ่งกว่าที่เคยรู้กันมาแต่แรก
ตัวเลขดั้งเดิมนั้น โลกเราอยู่ห่างหลุมดำมวลยวดยิ่งซาจิทาเรียส เอ สตาร์ (Sagittarius A*) ที่ตั้งอยู่ตรงกลางทางช้างเผือกประมาณ 26,000 ปีแสง แต่ตัวเลขใหม่นั้นจะใกล้ขึ้น 2,000 ปีแสง นั่นคือเราอยู่ห่างหลุมดำยักษ์ที่ระยะ 25,800 ปีแสง
หลุมดำมวลยวดยิ่งซาจิทาเรียส เอ สตาร์ (Sagittarius A*) ที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือกนั้นมีมวล 4.2 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์ แต่แรงดึงดูดส่งผลต่อเราน้อยมากเพราะเราอยู่ไกลเกินระยะอันตราย
ตัวเลขที่คำนวนมานี้ เป็นผลงานตลอดช่วง 15 ปีด้วยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า interferometry จากการระบุตำแหน่งและความเร็วของจุดที่เฉพาะเจาะจงประมาณ 99 จุดในกาแลคซีของเรา จากข้อมูลในโครงการดาราศาสตร์วิทยุของญี่ปุ่นในชื่อเรียกว่า VERA ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างแบบจำลองแผนที่กาแล็กซีทางช้างเผือกที่แม่นยำที่สุด
นอกจากนี้ การคำนวนล่าสุดยังพบว่า ระบบสุริยะกำลังโคจรไปรอบศูนย์กลางกาแล็กซีด้วยความเร็วที่สูงกว่าที่เราเคยรู้มา
ตัวเลขเดิมนั้น ระบบสุริยะจะเคลื่อนที่ไปรอบศูนย์กลางทางช้างเผือกด้วยความเร็ว 220 กิโลเมตรต่อวินาที แต่ตัวเลขที่ได้มาล่าสุดนั้น พบว่าเราเคลื่อนที่ไปรอบทางช้างเผือกด้วยความเร็วถึง 227 กิโลเมตรต่อวินาที
ขณะนี้ระบบ VERA ยังไม่จบสิ้นการคำนวน แต่ยังพยายามเพิ่มความแม่นยำของแบบจำลองโดยการเพิ่มจำนวนจุดที่รวบรวมข้อมูลจากการขยายไปยัง EAVN (เครือข่าย VLBI เอเชียตะวันออก) และรวบรวมข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ทั่วญี่ปุ่นเกาหลีและจีน เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ “เป๊ะ” กว่านี้ เพราะการมีตัวเลขอ้างอิงที่ชัดเจนจะเป็นฐานรองรับอีกสารพัดเรื่องราวของจักรวาลวิทยาในอนาคตสืบไป
เรียบเรียงโดย @MrVop