Blue Origin ประสบความสำเร็จในการส่งแคปซูลแตะขอบอวกาศ และกลับมาแตะพื้นโลกครบทั้ง 2 ส่วนคือส่วนแคปซูล และส่วนของจรวดส่งยานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การบินอวกาศ
23 พ.ย. ที่ผ่านมา โครงการที่มีเป้าหมายในการส่งมนุษย์ขึ้นไปสัมผัสประสบการณ์น่าสนุกคือขึ้นไปที่ขอบอวกาศบริเวณเส้นคาร์แมน หรือที่ความสูงราว 100 กม. จากระดับน้ำทะเล ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสสภาพไร้น้ำหนัก ได้เห็นส่วนโค้งของโลกและอื่นๆ
แต่ยังก่อน รอบนี้เป็นแค่การทดสอบ เป็นการส่งแคปซูลเปล่าๆ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในสิ่งที่วงการการบินอวกาศไม่เคยทำได้มาก่อน นั่นคือการนำจรวดส่งยานกลับลงมาบนพื้นได้อย่างสง่างาม “ทั้งดุ้น” แถมยังลงจอดในแนวตั้งได้ด้วย (ดูคลิป)
จะทำแบบนี้ไปทำไม ในเมื่อโครงการอื่นๆที่แล้วมาทั้งนาซา ทั้งรัสเซีย หรือแม้แต่ SpaceX ก็ทิ้งจรวดขับดันที่หมดเชื้อเพลิงให้ตกลงทะเล คำตอบคือ “เงิน” ไงครับ การที่เราสามารถนำจรวดขับดันกลับมาใช้ใหม่ มันคือการประหยัดต้นทุนการส่งยานอวกาศเป็นเงินก้อนใหญ่
แต่สิ่งที่ Blue Origin ทำนี้ วงการอวกาศยังมองดูแบบ อื่ม “เฉยๆ” เพราะอะไรนะเหรอ ไม่ใช้เพราะการส่งมนุษญ์ไปขอบอวกาศมีคนวางโครงการทำไปเยอะ แต่เพราะการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ที่ว่าทำได้เป็นครั้งแรกของโลกนั้น ยังต้องปรับปรุงอีกมาก
โครงการนี้เทียบกับงานที่ใช้กันจริงๆในวงการอวกาศยังห่างชั้นกันไกล เพราะในความจริง เราไปในอวกาศไม่ใช่แค่เส้นคาร์แมน คือไม่ได้ไปที่ความสูงแค่ 100 กม.ซึ่งความสูงแค่นั้นใช้แรงขับจรวดให้พุ่งขึ้นที่ความเร็ว 3 มัคเท่าที่ Blue Origin ทำได้ก็พอ แต่เราไปที่ ความสูงที่ไกลจากโลกกว่านั้นมาก เช่นการส่งดาวเทียม เราต้องไปให้ถึงวงโคจร geostationary transfer orbit หรือ GTO ที่ความสูง 90,000 กม. ซึ่งต้องใช้ความเร็วในการส่งจรวดสูงถึง 30 มัค จรวดจะต้องลำโตกว่านี้ บรรทุกเชื้อเพลิงมหาศาลจนต้อง “ทิ้ง” ท่อนเปล่าเพื่อให้เบาขึ้นที่ความสูงระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม โครงการ Blue Origin ก็แค่ท่องเที่ยว การทำให้จรวดขับดันสามารถ “รียูส” แถมลงจอดในแนวตั้ง มันก็ประหยัดและโก้เก๋ไม่หยอก ….จริงไหม
อ้างอิง http://techcrunch.com/2015/11/29/dont-compare-blue-origins-success-to-spacexs-failures/
เรียบเรียงโดย @MrVop
เครดิตภาพ https://www.blueorigin.com/