การศึกษาล่าสุด พบการสวมแว่นตากรองแสงสีฟ้าก่อนนอน เป็นวิธีทำให้เกิดความมืดทางสรีรวิทยารูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มทั้งปริมาณและคุณภาพการนอนหลับ ส่งผลต่อเนื่องถึงประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นในวันถัดมา
หน้าจอของอุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งหลายในทุกวันนี้เช่น แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ หน้าจอโน๊ตบุ๊ค ล้วนแล้วแต่เป็นแสงในย่านสีฟ้าออกมา แสงในย่านนี้จะกระตุ้นสมองให้เข้าใจว่าอยู่ในช่วงเวลากลางวัน ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ไฮเทคเหล่านี้ ก่อนถึงเวลานอน จะส่งผลให้สมองเกิดความสับสนรวมถึงการส่งผลกระทบในการผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นสารที่ควบคุมการหลับและการตื่นของร่างกาย
ที่ผ่านมาเพื่อแก้ปัญหานี้ ก็ได้มีแอพมือถือรวมทั้งไบออสของโทรศัพท์บางรุ่นที่จะเปลี่ยนหน้าจอให้แสงออกไปทางโทนอบอุ่น แต่ความจริงแล้ว แสงสีฟ้าก็ยังอาจจะเล็ดลอดออกมาจากหน้าจอ สู่ดวงตาของเราได้ ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการใช้แว่นกรองแสงสีฟ้าโดยออดแบบมาเพื่อตัดแสงความถี่นี้โดยเฉพาะจึงได้ผลกว่า
ล่าสุดทีมวิจัยนำโดย ดร. คริสเตียโน แอลกัวรานาจากมหาวิทยาลัยอินเดียนา ศาสตราจารย์ คริสโตเฟอร์ บาร์นส์ และ ดร. เหว่ยเจี๋ยอองแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้จัดการ บริษัท 63 คนและตัวแทนคอลเซ็นเตอร์ 67 คนที่สำนักงานในบราซิลซึ่งเป็นสาขาของบริษัท การเงินข้ามชาติแห่งหนึ่งของสหรัฐ โดยวัดผลงานจากปากคำของลูกค้า
กลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองเหล่านี้ถูกขอให้สวมแว่นกรองแสงสีฟ้าที่ทีมงานแจกให้โดยปะปนกันทั้งจริงทั้งหลอกแบบสุ่ม ผลการประเมินจากลูกค้าเป็นไปตามที่คาดไว้ คือคนที่สวมแว่นกรองแสวสีฟ้าของจริงก่อนนอนทุกคืนจะมีผลการทำงานที่ดีกว่ากลถ่มที่สวมแว่นหลอก และยังได้ผลดีกับพวกนอนดึกเป็นประจำมากกว่าพวกที่มักเข้านอนแต่หัวค่ำด้วย
การศึกษาครั้งนี้ยังช่วยให้ทีมวิจัยเข้าใจจังหวะ circadian ซึ่งคือวงจรการหลับแหละตื่นในรอบ 24 ชั่วโมงของมนุษย์ได้มากขึ้น
ทีมงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยครั้งนี้ใน Journal of Applied Psychology
เเรียบเรียงโดย @MrVop