ปี 2562 หรือ 2019 นี้มีอะไรน่าสนใจบนท้องฟ้าให้ติดตามบ้าง ไปดูกัน
- 3 มกราคม โลกเข้าใกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี 2019 ทีระยะ 147,099,760 กม.
- 3-4 มกราคม ฝนดาวตก Quadrantids
- 6 มกราคม สุริยุปราคาบางส่วน 12:16 เวลาไทย เงามืดผ่านเกาะทางใต้ของญี่ปุ่น มองไม่เห็นในไทย ดูแผนที่
- 21 มกราคม ซุปเปอร์มูน
- 21 มกราคม จันทรุปราคาเต็มดวงไทยไม่เห็น เห็นทางฝั่งอเมริกา ดูแผนที่
- 22 มกราคม ดาวพฤหัสชิดใกล้ดาวศุกร์ ห่างกัน 2.4°
- 19 กุมภาพันธุ์ ซุปเปอร์มูนครั้งที่สอง 22:53 เวลาไทย
- 21 มีนาคม วสันตวิษุวัต (vernal equinox) เวลา 04:58 ตามเวลาไทย จีนเรียกวัน “ชุนเฟิน”(春分)ไทยเรียกวันราตรีเสมอภาค ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรครั้งแรกของปี
- 21 มีนาคม ซุปเปอร์มูนครั้งที่สาม 08:43 เวลาไทย
- 22-23 เมษายน ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวพิณ หรือ Lyrids
- 27 เมษายน ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะกรุงเทพฯครั้งที่ 1 (ขาขึ้น) เวลา 12:15 ที่ 264 °W
- 6-7 พฤษภาคม ฝนดาวตก Eta Aquarids
- 18 พฤษภาคม Blue moon
- 10 มิถุนายน ดาวพฤหัสใกล้โลก สว่างสุดในรอบปี เห็นทั้งคืน
- 21 มิถุนายน วันครีษมายัน จีนเรียกวันเซี่ยจื้อ(夏至) เป็นวันที่กลางคืนสั้นที่สุด กลางวันยาวที่สุดในซีกโลกเหนือ ถือเป็นเริ่มฤดูร้อนในประเทศที่มี 4 ฤดู
- 2 กรกฎาคม สุริยุปราคาเต็มดวง เงามืดผ่านขั้วโลกใต้ ดูแผนที่
- 9 กรกฎาคม ดาวเสาร์ใกล้โลก สว่างสุดในรอบปี เห็นทั้งคืน
- 5 กรกฎาคม โลกออกห่างดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี 2019 ทีระยะ 152,104,285 กม.
- 16 กรกฎาคม จันทรุปราคาบางส่วน เห็นในไทยตอนรุ่งสาง ดูแผนที่
- 28-29 กรกฎาคม ฝนดาวตก มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ
- 12-13 สิงหาคม ฝนดาวตกวันแม่ มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวเพอซิอุส หรือเพอวิอิดส์
- 16 สิงหาคม ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะกรุงเทพฯครั้งที่ 2 (ขาลง) เวลา 12:22 ที่ 317 °W
- 23 กันยายน ศารทวิษุวัต (autumnal equinox) เวลา 14:50 ตามเวลาไทย
- 8 ตุลาคม ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวมังกร ดราโกนิดส์
- 21-22 ตุลาคม ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวนายพราย โอไรอันนิดส์
- 5-6 พฤศจิกายน ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาววัว หรือ ทอริดส์
- 17-18 พฤศจิกายน ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์
- 11 พฤศจิกายน ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ไม่เห็นในไทยเพราะเป็นตอนกลางคืน
- 24 พฤศจิกายน ดาวพฤหัสชิดใกล้ดาวศุกร์ ห่างกัน 1.4°
- 13-14 ธันวาคม ฝนดาวตกที่มีศูนย์กลางกระจายจากกลุ่มดาวคนคู่หรือเจมินิดส์
- 21-22 ฝนดาวตก Ursids
- 22 ธันวาคม วันเหมายัน จีนเรียกวันตงจื้อ(冬至) ถือเป็นเริ่มฤดูหนาวในประเทศที่มี 4 ฤดู ดวงอาทิตย์เอียงไปทางทิศใต้สุด 11:19 ตามเวลาไทย
- 26 ธันวาคม สุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ในทางใต้ของอินเดีย ศรีลังกา สุมาตรา สิงคโปร์ กาลิมันตัน ดูแผนที่
เครดิตภาพประกอบจาก BBC
เรียบเรียงโดย @MrVop