สมัยที่ NASA ส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ในปี พ.ศ. 2511 นั้น หนึ่งในอันตรายที่ทางหน่วยงานต้องเผชิญคือ หินอวกาศที่พุ่งลงมาเจาะชุดอวกาศหรืออุปกรณ์ต่างๆ ทั้งนี้เนื่องจากดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศคอยปกป้อวเหมือนโลกของเรา
“โชคยังดีที่มนุษย์อวกาศในสมัยนั้นไม่ค่อยได้รับอันตรายจากหินอวกาศที่ว่านี้” บิล คุ้ก (Bill cooke) หัวหน้าแผนกสภาพแวดล้อมอุกกาบาตที่ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลในอลาบามา กล่าว
“โอกาสที่นักบินอวกาศจะถูกหินอวกาศขนาดมิลลิเมตรพุ่งชน เท่ากับ 1 ใน 1 ล้านต่อชั่วโมงต่อคน” บิล คุ้ก อธิบาย
NASA กำลังเตรียมโครงการอาร์ทิมิสเพื่อส่งมนุษย์กลับไปยังดวงจันทร์ภายในปี พ.ศ.2568 และ มีโอกาสจะสร้างฐานที่มั่นบนนั้น การเข้าใจถึงความถี่ที่ดวงจันทร์ของเราจะได้รับผลกระทบจากหินอวกาศทุกขนาดจึงมีความสำคัญมากกว่าที่เคย
“ตัวเลขควาทถี่นั้นแบ่งตามขนาดของหินอวกาศ” บิล คุ้ก เริ่มแจกแจง “หินอวกาศที่เล็กกว่าระดับมิลลิเมตรนั้นไม่อาจระบุปริมาณให้ชัดเจนลงไปได้ มันอยู่ในช่วงตั้วแต่ 10 ตันไปจนถึง 1,000 ตัน”
“หินอวกาศขนาดใหญ่ขึ้น การประมาณการก็ง่ายขึ้น” บิลกล่าว “หินอวกาศขนาดลูกปิงปองจะพุ่งชนดวงจันทร์ประมาณ 100 ลูกต่อวัน หรือมากกว่า 33,000 ลูกต่อปี”
“แรงกระแทกของหินอวกาศขนาดเล็กเท่าลูกปิงปองแต่ละลูกนั้นพอๆกับระเบิดไดนาไมท์หนัก 3.2 กิโลกรัมเลยทีเดียว”
“หินอวกาศที่ใหญ่ขึ้นไปอีก จำพวกดาวเคราะห์น้อยขนาดประมาณ 2 เมตรครึ่ง จะพุ่งเข้าชนดวงจันทร์ทุกๆ 4 ปี ต่อ 1 ลูก และแต่ละลูกจะมีแรงชนพอๆกับระเบิดทีเอ็นทีขนาดมากถึง 900 ตัน”
“แต่เราไม่จำเป็นต้องเกิดความกลัวอะไรขนาดนั้น” บิล คุ้ก ย้ำ ” ดวงจันทร์มีพื้นที่ผิวประมาณ 38 ล้านตารางกิโลเมตร”
” ดังนั้นหากเราเลือกมองเฉพาะพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร” บิล คุ้ก ทิ้งท้าย “ความถี่ที่หินอวกาศขนาดเท่าลูกปิงปองจะเข้าขน จะอยู่ที่พันปีหรือมากกว่านั้น”
ที่มา https://www.space.com/how-many-moon-meteorite-impacts