ทีมวิจัยสัตว์มีกระดูกสันหลังจากคณะชีววิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยยูนนาน นำโดยศาสตราจารย์พอล บาร์เร็ตต์แห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งลอนดอศาสตราจารย์ชุนตง บี นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยอินเดียน่าแห่งเพนซิลเวเนีย ระบุสายพันธุ์ที่พบใหม่ของไดโนเสาร์ไทรีโอโฟแรน หรือไดโนเสาร์หุ้มเกราะที่เคยอาศัยอยู่บนโลกเราตั้งแต่เมื่อ 192 ถึง 174 ล้านปีก่อนในช่วงยุคจูราสสิกตอนต้น จากซากฟอสซิลที่ค้นพบในมณฑลยูนนาน
ไดโนเสาร์หุ้มเกราะชนิดที่พบใหม่นี้มีชื่อว่า “อวี้ซีซอรัส คอปชิกกี” (Yuxisaurus kopchicki) ตั้งชื่อตามจุดที่ค้นพบ นั่นคือในหมู่บ้านเจี่ยวเจียเตี้ยน เมืองอวี้ซี ในชั้นหินที่มีอายุถึง 190 ล้านปี ถือได้ว่าการค้นพบครั้งนี้ เป็นการพบฟอสซิลไดโนเสาร์หุ้มเกราะที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชีย

ฟอสซิลที่พบเป็นส่วนของกะโหลกศีรษะ ขา และองค์ประกอบของเกราะหุ้ม การแยกสปีชีส์ใหม่สังเกตุจากลักษณะเฉพาะหลายอย่างในบริเวณของกะโหลกศีรษะ และกระดูกส่วนที่ถัดจากกะโหลกศีรษะลงไป
“ลักษณะฟอสซิลที่พบ เจ้าไดโนเสาร์หุ้มเกราะตัวนี้วิวัฒนาการตัวเองให้เดินสี่ขาเป็นหลัก แต่ในบางครั้งมันก็สามารถเดินสองขาได้เหมือนกัน” ศาสตราจารย์ชุนตง บี อธิบาย

ทีมงานตีพิมพ์ผลงานครั้งนี้ลงในวารสาร journal eLife