ทีมนักบรรพชีวินวิทยานำโดย ดร.สตีเฟน แจกินสกี (Dr. Steven Jasinski) จากมหาวิทยาลัยแฮร์ริสเบิร์ก พบฟอสซิล “ตะพาบน้ำ” ยุคครีเทเชียส ยุคเดียวกับที่ไดโนเสาร์กินเนื้อ ที-เร็กซ์ และไดโนเสาร์กินพืชสามเขา ไทรเซราทอปส์ อันโด่งดัง ยังเดินหากินอยู่บนโลก
ตะพาบโบราณตัวนี้มีชื่อว่าฮัทเคมิส วอล์คเกอร์โรรัม (Hutchemys walkerorum) ขนาดตัวยาวไม่เกิน 1 ฟุต อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดที่เป็นน้ำนิ่งหรือน้ำไหลช้าต่างๆ
ฟอสซิลตะพาบชุดที่พบนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “พลาสโตเมนิน” (Plastomeninae) ซึ่งเป็นตะพาบที่มักพบในช่วงเวลาปลายยุคครีเทเชียส มาจนถึงยุคอีโอซีน ตะพาบบางจำพวกในกลุ่มนี้สามารถรอดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ปลายยุคครีเทเชียสมาได้

“เรามักพบตะพาบในกลุ่มพลาสโตเมนินในช่วงอายุตั้งแต่ 80 ล้านปีที่แล้วเรื่อยมาจนข้ามช่วงเวลาแห่งการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่มาจนถึง 50 ล้านปีก่อน” ดร.สตีเฟน อธิบาย
ตะพาบโบราณพวกนี้ดูไม่ต่างจากตะพาบในยุคปัจจุบันซักเท่าไร ยกเว้นส่วนกระดอง โดยเฉพาะกระดองส่วนล่างของลำตัวนั่นคือบริเวณหน้าท้องของมันจะเชื่อมติดกับส่วนอื่นอย่างแน่นหนา และดูแข็งแกร่งกว่าตะพาบในทุกวันนี้
เราพบฟอสซิลตะพาบ ฮัทเคมิส วอล์คเกอร์โรรัม นี้ในนอร์ท ดาร์โกตา เราพยายามทำความเข้าใจมัน แต่เรายังคงรู้เรื่องราวของมันน้อยมาก
“ที่เราอยากรู้ที่สุดคือ เมื่อมีเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยชนโลกจนเหล่าไดโนเสาร์ที่มีร่างกายใหญ่โตสูญพันธุ์ไปหมด เจ้าตะพาบตัวน้อยนี้รอดจากการสิ้นสุดสายพันธุ์มาได้อย่างไร ” ดร.ปีเตอร์ ดอดสัน นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียกล่าวเสริม
ทีมงานตีพิมพ์ผลงานครั้งนี้ลงในวารสาร journal Cretaceous Research.