19:25 คืนนี้ (4 มีนาคม 65) ตามเวลาในประเทศไทย ชิ้นส่วนจรวดที่ไม่ทราบที่มาที่ไป จะพุ่งเข้าชนฝั่งไกลของดวงจันทร์บริเวณเส้นศูนย์สูตร (ฝั่งที่มองไม่เห็นจากโลก ตามภาพประกอบบทความ) ด้วยความเร็ว 9,288 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมันน่าจะทิ้งร่องรอยไว้เป็นหลุม คล้ายหลุมอุกกาบาตขนาดเล็ก
การเข้าชนดวงจันทร์ของชิ้นส่วนจรวดดังกล่าว แม้ไม่สามารถมองเห็นจากโลก แต่ไม่เป็นปัญหากับยาน LRO หรือ Lunar Reconnaissance Orbiter ของ NASA และจันรายาน 2 (Chandrayaan 2) ของอินเดีย ที่จะตามถ่ายภาพเพื่อศึกษาหลุมอุกกาบาตที่เป็นฝีมือของมนุษย์ซึ่งเกิดแบบไม่ตั้งใจที่ด้านไกลของดวงจันทร์หลุมนี้
ชื้นส่วนจรวดที่ว่านี้ อาจเป็นชิ้นส่วนจรวดท่อนบนหรือ Upper state ของจรวดฟอลคอน 9 จากบริษัท SpaceX ที่ออกจากโลกระหว่างภารกิจส่งยาน DSCOVR เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 หรือไม่ก็เป็นชิ้นจรวดลองมาร์ช 3C ที่องค์การิวกาศจีนใช้ในภารกิจฉางเอ๋อ 5-T1 เมื่อเดือนตุลาคมปี 2557
ต้นกำเนิดของชิ้นส่วนจรวด ที่ความจริงควรเรียกว่าขยะอวกาศปริศนานี้ ทาง บิล เกรย์ (Bill Gray) ผู้รับผิดชอบโครงการ Project Pluto ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ติดตามการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์น้อยและวัตถุอวกาศต่างๆ รอบโลก เคยนำข้อมูลมาคำนวณเปรียบเทียบแล้วพบว่ามีโอกาสเป็นของทางจีนมากกว่า แต่ทางหน่วยงานจีนก็ออกมาปฏิเสธว่าไม่ใช่ ดังนั้นชิ้นส่วนขยะอวกาศนี้ก็ยังคงเป็นความลับต่อไป ซึ่งก็ไม่ใช่สาระสำคัญนัก เพราะที่เรานักวิทยาศาสตร์สนใจก็คือผลของการเข้าชนมากกว่า คอร์ดจะได้ถือโอกาสสำรวจความแข็งอ่อน รวมทั้งความน่าจะเป็นขององค์ประกอบของดินบนผิวดวงจันทร์ในฝั่งที่ไม่เคยมีการส่งยานสำรวจหรือมีส่งมนุษย์ไปเหยียบย่างมาก่อน ส่วนเรื่องที่มาที่ไปนั้นวันหนึ่งน้าอนาคตปริศนานี้ก็น่าจะเชยออกมาได้เองเมื่อข้อมูลมีมากจนไม่มีใครโต้แย้งได้