ต้นกำเนิดของงูยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาทางวิวัฒนาการที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดในเหล่านักวิชาการ การค้นพบฟอสซิลที่ค่อนข้างสมบูรณ์ของ Tetrapodophis amplectus ซึ่งเป็นสัตว์โบราณคล้ายงูมีขาในบราซิลเมื่อปี พ.ศ. 2558 สร้างความสับสนในช่วงแรกว่ามันคืองูจริงๆแล้วหรือยัง แต่งานวิจัยชิ้นล่าสุดได้เข้ามาตอบคำถามนี้ว่าเจ้า Tetrapodophis amplectus นี้ยังไม่ถือเป็นงูแท้ๆ เรายังคงถือว่ามันเป็นสัตว์ที่อยู่ระหว่างกลางเหมือนสะพานเชื่อมจากกิ้งก่ามาเป็นงู มันคือสัตว์เลื้อยคลานในยุคครีเทเชียสตอนต้นชื่อ dolichosaurid เมื่อราว 110 ปีที่แล้ว ที่มีช่วงกลางลำตัวยาวกว่าปกติ
ทีมนักบบรรพชีวินวิทยา นำโดยศาสตราจารย์ไมเคิล คาลด์เวลล์ จากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ตา ได้วิเคราะห์ฟอสซิลของ Tetrapodophis amplectus นี้อย่างละเอียด และได้พบเรื่องราวที่ร่าสนใจของจิ๊กซ์เจอร์ทางวิวัฒนาการชิ้นนี้หลายประการ

“ข้อสรุปที่สำคัญของทีมของเราคือTetrapodophis amlectus ยังไม่ใช่งูจริง ฟอสซิลนี้ถูกจำแนกประเภทผิดมาแต่แรก”
“เกือบทุกแง่มุมของทางกายวิภาคของมันสอดคล้องกับกายวิภาคที่สังเกตได้ในกลุ่มของกิ้งก่าทะเรียกว่า dolicosaurs ช่วงต้นยุคครีเทเชียส”
จากการวิเคราะห์ของทีมงาน พบว่าฟันขอวเจ้า Tetrapodophis amplectus นี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องหรือมีลักษณะเหมือนฟันของงู กะโหลกศีรษะและโครงกระดูกของมันก็ไม่เหมือนกับงู นอกจากนี้ทีมงานก็ยังไม่สังเกตุเห็นเกล็ดท้องขนาดใหญ่ที่เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญดเฉพาะตัวของงูด้วย
ในท้องของฟอสซิลขนาดจิ๋วนี้ยังพบว่ามีเศษอาหารมื้อสุดท้ายที่ดูเหมือนจะเป็นก้างปลา ซึ่งสอดคล้องกับการที่จะยืนยันว่า Tetrapodophis amplectus หากินในน้ำ
แต่ถึงมันจะยังไม่กลายเป็นงูเต็มตัว Tetrapodophis amplectus ก็ถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานสำคัญที่มีวิวัฒนาการอยู่ตรงรอยต่อที่ขาดหายไประหว่างกิ้งก่ามาเป็นงู มันมีขาเล็กๆที่แทบใช้งานไม่ได้ 4 ข้างที่กำลังรอวิวัฒนาการจนหดหายไปในภายหลัง สิ่งมีชีวิตตัวน้อยนี้แหวกว่ายไปในน้ำตื้นตามชายฝั่งโดยอาศัยการโบกไปมาของร่างกายที่ยาวเหยียดของมันที่มองไปก็เหมือนวิธีที่งูทะเลใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสาร Journal of Systematic Palaeontology
ที่มา https://www.sciencealert.com/this-famous-four-legged-snake-fossil-is-something-else-after-all