เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นวันครบรอบ 1000 วัน ในการทำงานของยานสำรวจทางธรณีวิทยา “InSight” บนดาวอังคาร และในวันนั้นมันก็ได้ตรวจพบแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสั่นไหวนานที่สุดบนดาวอังคาร นั่นคือแมกนิจูด 4.2 และคาบเวลาการสั่นไหวนานถึง 1½ ชั่วโมง
ก่อนหน้านี้เป็นเวลาไม่ถึงเดือนนั่นคือในวันที่ 25 สิงหาคม 64 ยานสำรวจ “InSight” ก็ตรวจพบแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกัน นั่นคือ แมกนิจูด 4.2 และ 4.1 ในวันเดียว
ขณะที่แผ่นดินไหวบนดาวอังคารครั้งล่าสุดคือ 18 ดันยายน ยังอยู่ในการศึกษาของนักวิชาการ แต่แผ่นดินไหวแมกนิจูด 4.2 ที่ตรวจจับได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมนั้นก็มีการศึกษาไปก่อนจนพบรายละเอียดบางส่วนแล้ว นั่นคือต้นกำเนิดของแผ่นดินไหวครั้งนั้นอยู่ห่างออกไป 8,500 กิโลเมตร
อย่างไรก็ตามในการหาพิกัดศูนย์กลางของการเกิดแผ่นดินไหวโดยปกติที่ทำกันบนโลกเรานั้นจะต้องใช้สถานีตรวจจับคลื่นจำนวน 3 สถานี เพื่อนำเวลาที่คลื่นเดินทางมาคำนวณหารัศมีและจุดตัดของวงกลมทั้ง 3 แต่สำหรับบนดาวอังคารเรามีสถานีเดียวคือตัวยาน “InSight” ทำให้การคำนวนหาพิกัดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวทำได้ค่อนข้างลำบาก

นักวิชาการพยายามมองหาต้นกำเนิดของแผ่นดินไหวซึ่งน่าจะเป็นภูมิประเทศทางธรณีวิทยาที่อาจก่อให้เกิดการขยับตัวของเปลือกดาวได้ จุดที่โดดเด่นที่สุดคือแนวสันเขา Valles Marineris ที่อยู่ห่างจากยาน InSight ออกไปประมาณ 9,700 กิโลเมตร แต่ก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ เนื่องจากไม่สามารถหาทิศทางที่ชัดเจน ด้วยข้อจำกัดที่กล่าวมาข้างต้น
แผ่นดินไหวจำนวน 2 ครั้งที่เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมยังมีความแตกต่างกัน นั่นคือขนาด 4.2 นั้นมีลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวแบบความถี่ต่ำ ส่วนขนาด 4.1 นั้น มีลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหวแบบความถี่สูง และมีแหล่งกำเนิดที่ใกล้กว่าคือ 925 กิโลเมตรจากตัวยาน
จุดสังเกตที่น่าสนใจคือแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 2 ครั้งที่ตรวจวัดได้เมื่อวันที่ 25 สิงหาคมวันเกิดในเวลากลางวันซึ่งเป็นเวลาที่บนดาวอังคารมีลมพัดแรง ขณะที่แผ่นดินไหวครั้งก่อนหน้านี้ในรอบปีที่ผ่านมามักเกิดในเวลากลางคืน นักวิชาการจึงมองว่าอาจเป็นเพียงผลการรบกวนของกระแสลมที่มีต่อเครื่องวัดของยาน InSight ก็เป็นได้
ที่มาและเครดิตภาพ http://www.sci-news.com/space/insight-three-strong-marsquakes-10098.html