พบซากฟอสซิลของ “ฉลามมีปีก” ที่อยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์เมื่อ 93 ล้านปีก่อน มีรูปร่างคล้ายส่วนผสมระหว่างฉลามวาฬและกระเบนราหู ด้วยครีบด้านข้างลำตัวที่ยาวและกว้างคล้ายปีกอินทรี
สายพันธุ์ฉลามมีปีกนี้เรียกว่า Aquilolamna milarcae ในความหมายของ “ฉลามปีกอินทรี” ตรงตามลักษณะที่มันเป็น ที่นอกจากดูคล้ายฉลามวาฬผสมกระเบนราหูแล้วมันยังกินอาหารแบบเดียวกันนั่นคือแพลงตอน โดยมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ Western Interior Seaway ซึ่งเป็นช่องที่น้ำทะเลไหลเข้าไปในแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นทางน้ำเชื่อมต่ออ่าวเม็กซิโกและมหาสมุทรอาร์กติกในยุคโบราณ
ซากฟอสซิลนี้ถูกพบครั้งแรกในเหมืองหินทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโกตั้งแต่เมื่อปี 2555 ขนาดของ “ฉลามปีกอินทรี” นี้คือมีความยาวลำตัว 1.65 เมตร ความกว้างจากปลาย “ปีก” ด้านหนึ่งถึงอีกด้านหนึ่ง 1.9 เมตร ทำให้เมื่อมันกางปีกเต็มที่แล้วจะดูกว้างกว่าความยาวของลำตัว

“Aquilolamna milarcae จัดอยูู่่ในอันดับฉลาม Lamniformes ในชั่นย่อยของปลากระดูกอ่อน Elasmobranchii.” ทีมนักบรรพชีวินวิทยานานาชาตินำโดย Dr. Romain Vullo จากมหาวิทยาลัย Rennes อธิบาย
“ พวกมันปรากฏตัวครั้งแรกในมหาสมุทรของโลกเมื่อประมาณ 380 ล้านปีก่อนและตั้งแต่นั้นมาได้มีการพัฒนาเพื่อเติมเต็มบทบาททางนิเวศวิทยาที่หลากหลาย”
” จากการวิเคราะห์ลักษณะร่างกายของมัน เราคิดว่ามันน่าจะว่ายน้ำได้ค่อนข้้างช้า โดยการส่งกำลังส่วนใหญ่จะมาจากลำตะวและส่วนของหางเป็นหลัก ส่วนปีกที่กว้างใหญ่นั้นใช้เพื่อร่อนไปมาในน้ำเท่่านั้น ไม่ได้ช่วยให้มันเคลื่อนที่เร็วขึ้นแต่อย่างใด”
ฉลามปีกอินทรีมีปากกว้างคล้ายฉลามวาฬในปัจจุบัน ช่วยให้มันกรองกินแพลงก์ตอนได้ในปริมาณมาก ลักษณะปีกของที่ยาวคล้ายกระเบนราหูของมัน เป็นการวิวัฒนาการแบบเบี่ยงเบนเข้าหากัน (Convergent evolution) หมายถึงการที่สัตว์ต่างชนิดต่างพัฒนาโครงสร้างแบบเดียวกันขึ้นมาแบบเป็นอิสระจากกัน ไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของกระเบนราหูในทุกวันนี้แต่อย่างใด และที่สำคัญวิวัฒนาการของมันแสดงให้เห็นว่ามันไม่อาจเอาชีวิตรอดสภาพแร้นแค้นสุดขีดแลายยุคครีเทเชียส พวกมันจึงสูญพันธุ์ไปพร้อมไดโนเสาร์
ทีมงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยครั้งนี้ลงในวารสาร journal Science.
ที่มาและเครดิตภาพ http://www.sci-news.com/paleontology/aquilolamna-milarcae-09470.html