ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (LLNL) ของสหรัฐฯ ใช้หอยิงเลเซอร์ National Ignition Facility (NIF) ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สร้างพลาสมาที่มีความร้อนมหาศาลในปฏิกรณ์ฟิวชั่น ทำลายสถิติที่เคยทำไว้เมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ ความร้อนนี้ใกล้ถึงขั้นจุดชนวนฟิวชั่นแบบยั่งยืน (Fusion Ignition) ได้สำเร็จ
หลักการของเตาปฎิกรณ์ที่สมบูณ์ คือต้องให้พลังงานออกมามากกว่าพลังงานที่ตัวเตาปฎิกรณ์เองต้องใช้ไประหว่างทำงาน (เอาท์พุทต้องมากกว่าอินพุท) แต่หลักการที่ฟังดูเหมือนง่ายนี้กลับทำให้ศูนย์ทดลองในประเทศต่างๆต้องทุ่มเททั้งเวลาและเงินทุนมากมายมาหลายปี แต่ก็ยังไม่ใกล้ความจริง
สาเหตุคือ การหลอมรวมกันของธาตุเบาเช่นไฮโดรเจนบนโลกเรานี้ ต้องอาศัยความร้อนสูงกว่าใจกลางดวงอาทิตย์หลายเท่า แตกต่างจากตัวของดวงอาทิตย์เองที่บริเวณใจกลางมีความกดดันมหาศาลเป็นแรงผลักสำคัญที่ทำให้อะตอมของธาตุไฮโดรเจนเข้าใกล้ชิดกันจนเกิดการหลอมรวมขึ้นเองโดยไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนมากนัก
พลังงานความร้อนที่เราต้องสร้างขึ้นในเตาปฏิกรณ์ฟิวชั่นนี้เองคือต้นเหตุของปัญหา เพราะมันเป็นพลังงานขาเข้าหรืออินพุทที่มีอัตราส่วนมากเกินไปอยู่ในทุกการทดลองทั่วโลกเวลานี้ เรายังคงต้องหาทางสร้างความร้อนด้วยวิธีต่างๆจนถึงจุดที่ปฏิกิริยาฟิวชั่นจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืนและปลดปล่อยพลังงานขาออกที่มากกว่าขาเข้าให้กับเรา แล้วเราจะเอาส่วนต่างนั้นไปปั่นเทอร์ไบน์ ผลิตไฟฟ้าออกมาให้ใช้งานกัน

วิธีการที่ห้องปฏิบัติการ LLNLใช้ในการทลองครั้งล่าสุด ที่ประกาศผลสำเร็จออกมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมาก็คือการยิงแสงเลเซอร์จำนวน 192 ลำ จากระยะไกลเท่ากับความยาว 3 สนามฟุตบอลต่อกัน เข้าไปโฟกัสที่ก้อนเชื้อเพลิงดิวเทอเรียม+ทริเทียมขนาดเท่าลูกปืนบีบีกัน เพื่อสร้างจุดความร้อนที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอๆกับเส้นผมของมนุษย์ การรวมแสงเลเซอร์ในการทดลองนี้สร้างพลังงานฟิวชันออกมามากกว่า 10 ล้านล้านวัตต์ หรือราวๆ 1.35 ล้านจูลในช่วงเวลาสั้นๆเพียงหนึ่งในร้อยล้านล้านของวินาที พอๆกับพลังงานจลน์ของรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พลังงานที่ได้นี้สูงกว่าสถิติเดิมที่ทำไว้เมื่อไตรมาสแรกของปีนี้ถึง 8 เท่า และเมื่อเอาไปคิดอัตราส่วนกับพลังงานขาเข้าเพื่อสร้างแสงเลเซอร์ก็จะได้ตัวเลขอยู่ที่ 70% ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่เพียงพอ แต่ความสำเร็จครั้งนี้ก็ถือเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของวงการนิวเคลียร์ฟิวชันแบบ ICF หรือการควบคุมพลาสมาด้วยความเฉื่อย (Inertial Confinement Fusion ) และเป้าหมายต่อไปคือหาทางสร้างพลังวานออกมาให้ได้ถึง 1.9 ล้านจูล ซึ่งเป็นตัวเลขที่เตาปฎิกรณ์ฟิวชั่นจะเริ่มให้พลังวานขาออกทากกว่าขาเข้า (เกิด Fusion Ignition ขึ้นแล้ว) และเมื่อถึงวันนั้นโลกก็จะมีแหล่งพลังวานสะอาดและยั่งยืนเอาไว้ใช้งาน