2M1310-1714 คือชื่อของเควซาร์ที่สว่างสดใสแต่อยู่ห่างไกลจากเราออกไปถึงหนึ่งหมื่นเจ็ดพันล้านปีแสง เควซาร์นี้ถูกกาแล็กซี 2 แห่งบังไว้พอดี โชคดีที่มีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “เลนส์ความโน้มถ่วง” ทำให้แสงจากเควซาร์ที่ถูกบังเกิดการเลี้ยวเบนมาให้เราเห็น แสงนั้นแยกเควซาร์ออกเป็น 4 ดวง เชื่อมด้วยวงแหวนอันสวยงาม ในชื่อ “วงแหวนไอสไตน์”
ปรากฏการณ์นี้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยทำนายไว้ว่าจะเกิดขึ้นกับดาวฤกษ์ต่างๆ แต่เราจะไม่ได้เห็นแม้ใช้กล้องดูดาว ตามบทความที่อธิบายในวารสารไซน์เมื่อปี 1936 เนื่องจากในช่วงเวลานั้น ไอสไตน์ไม่เคยคิดว่าจะมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์อวกาศแบบกล้องฮับเบิลขึ้นมา จนทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ที่น่าอัศจรรย์นี้
ตรงกลางวงแหวนคือกาแล็กซี 2 แห่งที่อยู่ห่างโลกเราออกไปสามพันแปดร้อยปีแสง กาแล็กซีทั้ง 2 นี้เองที่เป็นตัวกำเนิดแรงโน้มถ่วงที่ทำหน้าที่เป็นเลนส์เลี้นวเบนแสงจากเควซาร์ที่โดนบังอยู่ข้างหลังจนกลายเป็นวงแหวนไอสไตน์พร้อมจุดสว่างทั้ง 4 ที่ความจริงคือภาพเหมือนของเควซาร์ดวงเดียวกัน
ที่มา http://www.sci-news.com/astronomy/quintuply-imaged-quasar-09938.html