โมดูลห้องปฏิบัติการขององค์การอวกาศรัสเซียหรือ ROSCOSMOS เข้าเชื่อมต่อกับโมดูล Zvezda ของสถานีอวกาศนานาชาติ 20:29 คืนวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 64 ที่ผ่านมาตามเวลาในประเทศไทย
หลังใช้เวลาเดินทางออกจากศูนย์อวกาศเไบโคนูร์คอสโมโดรม ประเทศคาซัคสถานถึง 8 วัน เนื่องจากพบปัญหาการขับเคลื่อนระหว่างทางจนต้องมีการสั่งแก้จากหอบังคับการภาคพื้นดิน แต่ในที่สุดโมดูลขนาด 20 ตันยาว 13 ม. ก็เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศได้อย่างเรียบร้อยโดยฝีมือบังคับในขั้นตอนสุดท้ายของ Oleg Novitsky ระว่างที่สถานีอวกาศกำลังโคจรข้ามพรมแดนระหว่างมองโกเลียและจีนที่ระดับความสูง 420 กม.
ต่อมาเมื่อเวลา 20:45 ขณะที่ Oleg Novitsky และเพื่อนนักบินอวกาศอีกนายคือ Pyotr Dubrov กำลังอยู่ในโมดูล Zvezda เพื่อเตรียมเปิดประตูระหว่าง 2 โมดูลให้เชื่อมเข้าหากัน จู่ๆโมดูลเนากา (NAUKA) ก็ติดเครื่องยนต์ของตัวเองขึ้นมาเฉยๆ แรงดันที่เกิดขึ้นนี้ทำให้สถานีอวกาศนานาชาติเอียงเป็นมุม 45 องศาจากระนาบที่ควรจะเป็น สร้างความตกใจให้นักบินอวกาศทั้ง 7 นายที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนสถานีอวกาศเวลานั้น
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนี้ทำให้สถานีอวกาศเกิดลักษณะที่เรียกว่าสูญเสีย “attitude control” ซึ่งปกติแล้วเป็นเรื่องที่แทบจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งอีกสักครู่ต่อมา ระบบควบคุมอัตโนมัติของสถานีอวกาศนานาชาติ ก็ได้สั่งการให้ “แก้เอียง” โดยมีการติดเครื่องยนต์ของยานขนส่งโปรเกรส 78 ที่ต่อเชื่อมอยู่กับโมดูล Zvezda จนสถานีอวกาศกลับมาอยู่ในระนาบที่ถูกต้อง ทั้งหมดกินเวลาไปถึง 47 นาที
หลังจากนั้นนักบินอวกาศรัสเซียทั้งสอง ก็ได้เข้าไปตรวจสอบโมดูลเนากา (NAUKA) อย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องยนต์ของโมดุลจะไม่ติดขึ้นมาเองอีกครั้ง
ททาง NASA ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทั้งหมดปลอดภัย และหากเกิดอุบัติเหตุใดๆที่ต้องการอพยพกล
อย่างไรก็ตาม อุบัติเหตุครั้งนี้แม้ไม่ส่งผลร้ายแรง แต่ก็ทำให้กำหนดการเดินทางของยานสตาร์ไลเนอร์ของบริษัทโบอิ้งที่มีกำหนดเดินทางจากโลกวันที่ 31 กรกฎาคมตามเวลาในประเทศไทยเพื่อไปต่อเชื่อมกับสถานีอวกาศนานาชาติต้องเลื่อนออกไปอีก
ที่มา https://www.space.com/nauka-module-thruster-fire-tilts-space-station
เครดิตภาพประกอบบทความจาก NASA ในภาพโมดูลเนากา (NAUKA) คือส่วนรูปตัว T ที่อยู่ตรงกลาง