นับถึงวันพุธที่แล้ว ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตา ครองจำนวนการระบาดที่ 31% ของประชากรผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯ
ถือเป็นการเพิ่มสัดส่วนที่รวดเร็วมาก จาก 10% เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน และเพียง 2.7%เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
Financial Times คำนวนว่าสัดส่วนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในรอบ 11 วัน และแม้จะยังไม่มีตัวเลขใหม่ออกมาจาก CDC ดอกเตอร์ Rochelle Walensky กรรมการของ CDC ก็ออกมาเตือนว่าสุดท้ายแล้วสายพันธุ์เดลตาก็ยึดครองจำนวนผู้ติดเชื้อในอเมริกาไปจนหมด แทนที่สายพันธุ์อัลฟาที่เคยเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ก่อนหน้านี้
และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Scott Gottlieb อดีตผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯหรือ FDA ได้ออกมาตือนว่าสายพันธุ์เดลตาอาจนำไปสู่การพุ่งสูงขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังจะมาถึงนี้ (กันยายนถึงธันวาคม) แม้มีชาวอเมริกันมากถึง 75% ที่มีสิทธิ์จะได้รับการฉีดวัคซีน
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตานั้นพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ B.1.617.2 มีอัตราการแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟาที่พบครั้งแรกในอังกฤษในชื่อ B.1.1.7 และเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในอเมริกาถึง 60%
ผลวิจัยบางชิ้นยังระบุว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตานี้มีโอกาสหลบเลี่ยงจากการป้องกันของวัคซีนหลายชนิด และมีผลวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าวัคซีนของ Pfizer-BioNTech หรือ Oxford University-AstraZeneca ที่ฉีดเพียงโดสเดียว ให้การป้องกันเพียงการติดเชื้อแบบมีอาการจากสายพันธุ์เดลตาได้ 33% เทียบกับอย่างน้อย 88%เปอร์เซ็นต์สำหรับสายพันธุ์อื่น
แต่หากฉีดวัคซีนของ Pfizer-BioNTech หรือ Oxford University-AstraZeneca ครบ 2 โดส ก็จะให้ผลป้องกันอาการป่วยถึงขั้นต้องเข้าโรงพยายาลจากสายพันธุ์เดลตาได้ค่อนข้างแน่นอน
ยังไม่ชัดเจนว่าวัคซีนชนิดอื่นให้การป้องกันแบบใดต่อสายพันธุ์นี้
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ออกมาให้คำเตือนว่าสายพันธุ์เดลตา ” เป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับคนหนุ่มสาว ” ซึ่งเป็นวัยที่มีกิจกรรมทางสังคมมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุแต่ในแต่กลับมีจำนวนคนหนุ่มสวที่ยอมฉีดวัคซีนน้อยกว่าผู้สูงอายุในสหรัฐฯ
ที่มาและเครดิตภาพ https://www.sciencealert.com/delta-variant-is-spreading-rapidly-through-the-us-threatening-the-country-s-recovery