กองหินวงกลมอายุราว 7,000 ปีในทะเลทรายอียิปต์คือหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ทำหน้าที่เป็นปฏิทินคอยบอกวันคริษมายัน วันเหมายัน วันเริ่มฤดูมรสุม และวันสำคัญที่มีผลต่อชีวิตผู้คนในวัฒนธรรมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา
วิถีชีวิตของคนโบราณนั้นเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์บนท้องฟ้าอย่างแน่นแฟ้นไม่ต่างจากโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมโยงกับเราในทุกวันนี้ ความเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งดวงอาทิตย์ ดวงดาว ล้วนเกี่ยวข้องกับทุกสิ่งอย่างโดยเฉพาะสังคมเกษตรกรรมที่ต้องรู้วันเริ่มต้นและสิ้นสุดฤดูเพาะปลูกและฤดูเก็บเกี่ยว เราจึงพบร่องรอยของความพยายามสร้างปฏิทินที่จะคอยบอกวันสำคัญต่างๆเหล่านี้หลายหมื่นแห่งกระจายไปทั่วทุกมุมโลก และรูปแบบที่นิยมสร้างกันแบบหนึ่งก็คือกองหินรูปวงกลม

กองหินขนาดใหญ่รูปวงกลมที่ใช้เป็นปฏิทินบอกฤดูกาลส่วนใหญ่ที่เคยพบมาจะมีอายุอยู่ในช่วง 6, 500 จนถึง 4,500 ปีที่แล้ว (ที่โด่งดังที่สุดคือกองหินสโตนเฮนจ์ในอังกฤษท) หลังจากนั้นก็มีวิวัฒนาการในการย่อขนาดให้เล็กลงและใช้วัสดุที่ต่างออกไปที่แม้จะเบาจนเคลื่อนที่ได้แต่อาจไม่คงทน ทำให้ในยุคหลังเราจะไม่พบกองหินลักษณะนี้อีก
จากการศึกษาพบว่า กองหินขนาดใหญ่รูปวงกลมที่ใช้เป็นปฏิทินบอกฤดูกาลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือกองหินรูปวงกลมจากแหล่งโบราณคดี Nabta Playa ที่พิกัด 22.51°N 30.73°E ในทะเลทรายนูเบียนของอียิปต์ ห่างจากกรุงไคโรไปทางใต้ราว 800 กิโลเมตร มีอายุเก่าแก่ย้อนหลังไปถึง 7,000 ปี ในช่วงยุคหินใหม่ ยุคแรกที่มนุษย์ประสบความสำเร็จขั้นต้นในการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทำให้ไม่ต้องร่อนเร่ย้ายถิ่น และเป็นช่วงเวลา เริ่มต้นการรวมกลุ่มเป็นหลักแหล่ง
เราพบว่าบริเวณทะเลทรายนูเบียนที่เป็นที่ตั้งของ Nabta Playa นี้ แม้มีแต่ความแห้งแล้งเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันแต่กลับเคยเป็นจุดที่มีฝนตกถึงปีละ 500 มิลลิเมตรในยุคโบราณ โดยจะมีฝนตกปีละ4 เดือน เมื่อมีน้ำท่าอุดมสมบูรณ์จึงเป็นจุดที่เกิดเป็นสังคมเกษตรกรรมและปศุสัตว์ มีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ที่ ทีมขุดค้นหลายทีมเคยพบหลุมฝังศพวัว พบซากเตาไฟ กระจายเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ วัฒนธรรมแน่นอนว่าต้องพึ่งพาปฏิทินบอกฤดูกาล ซึ่งในยุคที่สร้างกองหินนี้บนฟ้ายังไม่มีดาวเหนือ (แกนโลกเราส่ายไปในรอบ 12,000 ปีทำให้ขั้วเหนือชี้ดาวฤกษ์ดวงต่างๆเช่นเวกา โพลารีส สลับกันไป) แต่ทีมงานพบว่าหินย่อยๆที่เรียงตัวเหมือนซี่ล้อรถนั้นชี้ไปยังกลุ่มดาวสำคัญหลายกลุ่ม เป็นหลักฐานว่าชีวิตมนุษย์ยุคหินใหม่นั้นเชื่อมโยงกับตำแหน่งดวงดาวบนฟ้าอย่างแนบแน่น
J. McKim Malville ศาสตราจารย์กิตติคุณจาก โคโรราโด
ที่มาของภาพ : วิกิพีเดีย