ยานโรเวอร์ Curiosity เริ่มสังเกตการก่อตัวของเมฆที่เกิดจากเกล็ดน้ำแข็งคาร์บอนไดออกไซด์บนดาวอังคาร ตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมาปีนี้
ดาวอังคารมักจะมีเมฆก่อตัวขึ้นมาบริเวณเส้นศูนย์สูตรช่วงฤดูหนาวของแต่ละปี แต่เมื่อปีที่แล้ว* เมฆบริเวณเส้นศูนย์สูตรก่อตัวเร็วขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย เมื่อมาถึงปีนี้ทาง NASA อยากจะสังเกตการก่อตัวของเมฆเหล่านี้เพิ่มเติม จึงได้สั่งให้ Curiosity เริ่มทำการบันทึกภาพตั้งแต่วันแรกของมกราคมเลยทีเดียว
ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพของเมฆก้อนเล็กๆ ที่เต็มไปด้วยผลึกน้ำแข็งสะท้อนกระจายแสงจากดวงอาทิตย์ที่กำลังตกดิน บางส่วนมีแสงระยิบระยับเต็มไปด้วยสีสัน
เมฆบนอังคารส่วนใหญ่ลอยสูงจากพื้นไม่เกิน 60 กิโลเมตร และประกอบด้วยหยดน้ำหรือผลึกน้ำแข็งขนาดเล็กคล้ายเมฆบนโลกเรา แต่เมฆที่ Curiosity ถ่ายภาพได้ในปีนี้นั้นอยู่ที่ระดับความสูงที่สูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำมาก บ่งชี้ว่าเมฆพวกที่เกิดก่อนถึงฤดูหนาวนี้น่าจะเกิดจากเกล็ดน้ำแข็งคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ใช่เกล็ดน้ำแข็งจากน้ำธรรมดา
เมื่อมองดูเมฆที่ก่อตัวขึ้นปีนี้หลังพระอาทิตย์ตกดินผลึกน้ำแข็งของเมฆจะจับแสงที่เริ่มอ่อนจาง ส่งผลให้ดูคล้ายจะเรืองแสงได้เมื่อเทียบกับท้องฟ้าที่เริ่มมืดลง การเรืองแสงของเมฆนี้เมื่อเทียบกับเวลาจะทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ได้ถึงมุมของดวงอาทิตย์ที่คอยเคลื่อนต่ำลงและสามารถคำนวณความสูงของเมฆได้
“ ถ้าคุณเห็นก้อนเมฆที่มีชุดสีพาสเทลระยิบระยับอยู่นั่นเป็นเพราะอนุภาคของเมฆมีขนาดเกือบเท่ากันหมด” ดร. มาร์คเลมมอนนักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศจากสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศกล่าว
“ โดยปกติลักษณะแบบนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่เมฆก่อตัวและเติบโตขึ้นในอัตราเดียวกัน”
“ เมฆเหล่านี้เป็นหนึ่งในสิ่งที่มีสีสันมากขึ้นบนดาวเคราะห์สีแดง”
“ ถ้าคุณยืนมองท้องฟ้าอยู่ข้างๆ Curiosity คุณก็จะสามารถมองเห็นสีของเมฆพวกนี้ได้ด้วยตาเปล่า”
“ทีมงานประหลาดใจกับสีเมฆที่ปรากฏให้เห็น: ทั้งสีแดง สีเขียว สีฟ้าและสีม่วง”
“ มันเจ๋งมากที่ได้เห็นบางสิ่งบางอย่างที่ส่องแสงด้วยสีสันมากมายบนดาวอังคารที่ดูเป็นดาวที่มีสีโทนเดียวแบบนั้น”
* 1 ปีของดาวอังคารเท่ากับ 2 ปีบนโลก
ที่มาและเครดิตภาพ https://c3zoevrcxioo35et6tln6w6haq-ac5fdsxevxq4s5y-www-sci-news-com.translate.goog/space/curiosity-carbon-dioxide-ice-clouds-martian-skies-09708.html