ในทุกวัน โลกเราจะเคลื่อนผ่านธารละอองของสะเก็ดดาวทั้งจากดาวหางและดาวเคราะห์น้อย กลายเป็นเศษหินขนาดต่างๆกันตั้งแต่ชิ้นใหญ่ไปจนถึงเศษฝุ่นที่มองแทบไม่เห็น วัตถุเหล่านี้ถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงฝ่าชั้นบรรยากาศให้ตกลงมาลงมา
โครงการระดับนานาชาติที่ดำเนินการมาเกือบ 20 ปีโดยทีมนักวิทยาศาสตร์จาก CNRS มหาวิทยาลัย Université Paris-Saclay และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติโดยการสนับสนุนของสถาบันขั้วโลกของฝรั่งเศส ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปริมาณฝุ่นละอองต่างๆจากอวกาศ สามารถระบุตัวเลขของน้ำหนักฝุ่นจากอวกาศที่ตกลงสู่โลกเราได้แล้ว นั่นคือ 5,200 ตันต่อปี

เพื่อไม่ให้ปะปนกับฝุ่นละออกจากภายในโลกเราเอง ทีมงานเลือกเก็บฝุ่นจากสถานที่ที่มีฝุ่นน้อยที่สุดในโลก นั่นคือที่ราบกลางทวีปแอนตาร์กติกาห่างจากช่ายฝั่ง 1,100 กิโลเมตร ซึ่งเป็นบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา และมีฝุ่นจากภายในโลกเราเองน้อยมาก
ทีมงานได้รวบรวมอนุภาคจากนอกโลกที่มีขนาดตั้งแต่ 30 ถึง 200 ไมครอน โดยใช้ระบบคำนวณการแยกตัวอย่างหิมะในร่องลึก 2 เมตรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนมีปริมาณเพียงพอเพื่อจะนำไปคำนวนหาฟลักซ์ในแต่ละปีซึ่งจะสอดคล้องกับมวลที่สะสมบนโลกต่อตารางเมตรต่อปีและได้ตัวเลขออกมาตามที่เสนอไปข้างต้น
การเปรียบเทียบการฟลักซ์ของฝุ่นอวกาศขนาดเล็ก (micrometeorites) กับการคาดการณ์ทางทฤษฎี ยืนยันว่าฝุ่นละอองจากอวกาศเหล่านี้ ส่วนใหญ่น่าจะมีที่มาจากดาวหาง (80%) และส่วนที่เหลือมาจากดาวเคราะห์น้อย
ทีมงานสรุปถึงข้อมูลที่ได้นี้ว่าเป็นงานวิจัยที่สำคัญ มันให้ความเข้าใจกับเราถึงบทบาทของอนุภาคฝุ่นที่มาจากอวกาศที่พาให้เกิดน้ำและโมเลกุลของคาร์บอเนตบนโลกเราเมื่อยุคเริ่มถือกำเนิดใหม่ๆ
ที่มา https://www.sciencedaily.com/releases/2021/04/210408131503.htm
และ https://www.universetoday.com/150866/earth-gains-5200-tons-of-dust-from-space-every-year/
เครดิตภาพ © Paulista / stock.adobe.com
เรียบเรียงโดย @MrVop