นักดาราศาสตร์ค้นพบระบบดาวคู่ซิกนัส-เอ็กซ์1 ในปี พ. ศ. 2507 จากการที่มันเป็นแหล่งปล่อยรังสีเอ็กซ์ที่โดดเด่น ห่างจากระบบสุริยะของเราออกไป 6,070 ปีแสง ในทิศทางของกลุ่มดาวหงส์
ระบบดาวคู่นี้ ประกอบด้วยดาวฤกษ์มหายักษ์ HD 226868 หมุนวนรอบ “วัตถุที่มองไม่เห็น” ด้วยความเร็วสูงถึง 5.6 วันต่อรอบ เนื่องด้วยทั้งคู่อยู่ใกล้กันมาก ด้วยระยะห่างแค่ 1 ใน 5 ของระยะห่างจากดวงอาทิตย์ถึงโลกเท่านั้น
และก็มีเรื่องสนุกเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2519 เมื่อสองนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค คิพ ธอร์น และ สตีเฟน ฮอว์กิ้ง ได้เดิมพันกันว่า “วัตถุที่มองไม่เห็น” ในระบบดาวดังกล่าว เป็นหลุมดำหรือไม่
ผลออกมาว่าใช่ วัตถุลึกลับนั้นคือหลุมดำ ส่งผลให้สตีเฟน ฮอว์กิ้ง แพ้พนัน ต้องจ่ายค่าสมาชิกนิตยสารเพล์บอยให้ คิพ ธอร์น เป็นเวลา 1 ปี
หลุมดำมวลดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ซิกนัส-เอ็กซ์1 นี้ ในระยะแรกหลังการค้นพบ ประเมินว่ามีรัศมีชวาร์ซชิลด์ 44 กิโลเมตร และมีมวลประมาณ 10 เท่าของดวงอาทิตย์ แต่ล่าสุดจากผลการศึกษาของศาสตราจารย์ Ilya Mandel นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย Monash และศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ARC พบว่าหลุมดำนี้มีมวล 21.2 เท่าของดวงอาทิตย์ มากกว่าที่คิดกันเอาไว้กว่า 2 เท่า
ด้วยตัวเลขของขนาดมวลที่พบใหม่นี้ ประกอบกับระยะห่างจากระบบสุริยะที่ได้ตัวเลขมาล่าสุด นักศึกษาปริญญาเอก Xueshan Zhao จากหอดูดาวของสถาบันดาราศาตร์แห่งชาติประเทศจีนสามารถคำนวนความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของหลุมดำมวลดาวฤกษ์ในระบบดาวคู่ซิกนัส-เอ็กซ์1 นี้ได้ถึง 790 รอบต่อวินาที ถือว่าความเร็วที่ขอบรัศมีชวาร์ซชิลด์นั้นสูงว่าทุกๆหลุมดำมวลดาวฤกษ์ที่เรารู้จักเลยทีเดียว
ทีมงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานศึกษาครั้งนี้ลงในวารสาร Journal Science.
ที่มาและเครดิตภาพ http://www.sci-news.com/astronomy/cygnus-x-1-black-hole-09373.html
เรียบเรียงโดย @MrVop