มีรายงานการพบคลัสเตอร์ใหม่ทางวิวัฒนาการของไวรัส SARS-COV-2 ในสหราชอาณาจักรที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา นั่นคือสายพันธุ์ B.1.1.7 ที่เกิดการกลายพันธุ์ไปแล้วทั้งหมด 23 ครั้ง แต่มีที่สำคัญหลักๆอยู่ 3 จุด ได้แก่
- การกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนกรดอะมิโน N501Y บน RBD จาก asparagine (N) ไปเป็น tyrosine (Y) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในจุดที่ไวรัส SARS-CoV-2 ใช้จับกับตัวรับ ACE-2 ของเซลล์มนุษย์แบบนี้ ทำให้ไวรัสสามารถแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น
- กายหายไปของกรดอะมิโน 69-70del นั่นคือ histidine ในตำแหน่งที่ 69 และ valine ในตำแหน่งที่ 70 ในโปรตีนบริเวณหนามของไวรัส SARS-CoV-2 ก่อให้เกิดความสามารถของในการหลบเลี่ยงการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของมนุษย์
- การกลายพันธุ์ที่เปลี่ยนกรดอะมิโน P681H ที่อยู่ติดกับบริเวณรอยแยกของ furin จาก proline เป็น histidine ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญทางชีวภาพในส่วนของเมมเบรนฟิวชั่น
การกลายพันธุ์หลักๆทั้ง 3 จุดนี้ ทำให้ไวรัส SARS-CoV-2 ต้นเหตุของโรค COVID-19 มีความสามารถในการระบาดที่เพิ่มขึ้นโดยประมาณสูงขึ้นถึง 70%
จีโนมตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดสองชนิดที่เป็นของสายพันธุ์ B.1.1.7 ถูกรวบรวมในวันที่ 20 กันยายน 2020 ในเมืองเคนท์ และอีกครั้งในวันที่ 21 กันยายน 2020 จากมหานครลอนดอน และยังคงมีการตรวจพบการติดเชื้อ B.1.1.7 ในสหราชอาณาจักรจนถึงต้นเดือนธันวาคม 2020 การแพร่ระบาดอย่ารวดเร็วของไวรัสกลายพันธุ์ที่ตั้งชื่อขึ้นมาเรียกโดยเฉพาะว่า VUI-202012/01 นี้สร้างความกังวลอย่างยิ่งต่อหน่วยงานทางสาธารณสุขของอังกฤษว่าจะหยุดยั้งเอาไว้ไม่ได้หรือลำบากกว่าเดิมหลายเท่า
แม้ว่าการกลายพันธุ์ของ VUI-202012/01 นี้จะทำให้ไวรัสต้นเหตุของโรค COVID-19 แพร่ระบาดได้รวดเร็วขึ้น แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอาการของโรคจะรุนแรงขึ้น และยังไม่มีผลสรุปว่าวัคซีนสูตรต่างๆที่พัฒนากันมาจะใช้ป้องกันการกลายพันธุ์ครั้งนี้ไม่ได้