แม่น้ำอามูดาร์ยา เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียกลาง เป็นเส้นแบ่งพรมแดนทางธรรมชาติระหว่างประเทศอัฟกานิสถานกับประเทศทาจิกิสถาน ส่วนแม่น้ำซีร์ดาร์ยา ที่ไหลผ่านประเทศคีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานและคาซัคสถาน เกิดจากแคว 2 สาย ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาเทียนซาน ไหลมารวมกันในประเทศคาซัคสถาน แล้วไหลไปทางตะวันตกและตวันตกเฉียงเหนือ ผ่านหุบเขาเฟอร์กานา ไหลไปลงทะเลอารัล ทะเลสาบน้ำเค็มที่ทุกวันนี้เหือดแห้งไปแล้ว
แต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณที่กล่าวมานี้ เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแถบเอเชียกลางที่ยิ่งใหญ่ มีชนเผ่าที่อพยพเข้ามาตั้งรถรากจากความอุดมสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก จวบจนกระทั่งล่มสลายไปในช่วงทศวรรษที่ 12 จากสาเหตุที่เชื่อกันมานานว่าคือการรุกรานเข้ามาของจักรวรรดิมองโกล และอีกสาเหตุหนึ่งการการซบเซาลงของเครือข่ายการค้าจากเส้นทางสายไหม

ล่าสุดทีมนักวิจัยนำโดย Dr. Willem Toonen จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมได้พบสิ่งที่ท้าทายความเชื่อที่มีมายาวนานนี้ โดยทีมงานได้เข้าตรวจสอบข้อมูลทางบริบททางอุทกภูมิและอุทกวิทยาของเมือง Otrar หรือ Utrar หรืออีกชื่อคือ Farab ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจุดนัดพบของแม่น้ำ ซีร์ดาร์ยา และ Arys ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขา ทางตอนใต้ของคาซัคสถาน เมืองที่เป็นโอเอซิสศูนย์กลางความรุ่งเรืองในช่วงเวลานั้นและพบร่องรอยของภัยแล้งที่สำคัญ
ทีมงานพบความเปลี่ยนแปลงของคลองชลประทานแถบนี้ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนถูกทิ้งร่าง พบว่าแม้มีหลักฐานว่ามีการทำลายสิ่งก่อสร้างบริเวณนี้จากภัยสงครามกับประเทศอาหรับช่วงศตวรรษที่ 7 และ 8 แต่สถานที่หลายแห่งในโอเอซิส Otrar ก็ยังคงอยู่ จนเกิดภัยธรรมชาติคือภัยแล้งรุนแรงในช่วงศตวรรษที่ 9 ซึ่งอยู่ก่อนหน้าช่วงที่กองทัพมองโกลจะบุกรุกเข้ามากว่า 200 ปี
“ การวิจัยของเราแสดงให้เห็นว่า ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือตัวการที่สำคัญ ไม่ใช่เจงกิสข่าน ซึ่งเป็นสาเหตุสุดท้ายของการล่มสลายของอารยธรรมแม่น้ำในแถบเอเชียกลางที่ถูกลืม” ดร. แม็คลินกล่าว
“ เราพบว่าเอเชียกลางฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจากการรุกรานของอาหรับในศตวรรษที่ 7 และ 8 เนื่องจากช่วงนั้นสภาพอากาศยังมีความชุ่มชื้นเหมาะสมกับการทำเกษตร“
“แต่ความแห้งแล้งที่ยืดเยื้อยาวนานหลังทั้งในระหว่างและหลังจากการรุกรานของชาวมองโกลในเวลาต่อมา ได้ทำลายความสามารถในการฟื้นตัวของชุมชนเกษตรกรรมบริเวณนี้ไปจนหมดสิ้น”
อธิบายง่ายๆคือ จะไม่มีอารยธรรมไหนตายสนิท ถ้าพื้นที่ตรงนั้นยังพอเลี้ยงชีพได้
ที่มา http://www.sci-news.com/archaeology/climate-change-central-asias-river-civilizations-09164.html