Solar Impulse ออกเดินทางจากกรุงไคโรเช้านี้ มุ่งสู่อาบูดาบี เพื่อจบเที่ยวบินสุดท้ายรอบโลกที่ไม่ใช้น้ำมันแม้แต่หยดเดียว
เครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาร์อิมพัลส์ 2 ออกเดินทางจากสนามบินกรุงไคโรประเทศอียิปต์ (รูปบน) เมื่อเวลา 06:28 เช้านี้ (24 ก.ค.59) ตรงสู่กรุงอาบูดาบี ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ๆซึ่งเคยใช้เป็นจุดตั้งต้นออกเดินทางครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 58 เพื่อจบสิ้นภาระกิจการบินรอบโลกโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ล้วนๆ พิสูจน์ให้โลกเห็นถึงการไม่พึงพาเชื้อเพลิงฟอสซิลแม้แต่หยดเดียว
ระยะปีกสองข้างของเครื่องบินโซลาร์อิมพัลส์ 2 มีขนาด 72 เมตร ซึ่งกว้างกว่าขนาดความกว้างของโบอิ้ง 747 แต่มีน้ำหนักเพียงแค่ราว 2.3 ตัน ขณะที่โบอิ้ง 747 มีน้ำหนักถึงราว 300 ตัน ติดตั้งแผงเซลล์สุริยะคุณภาพสูง 1,7000 เซลล์ บนปีกและแบตเตอรีลิเธียมโพลิเมอร์คุณภาพสูงที่สามารถป้อนพลังไฟฟ้าให้โซลาร์อิมพัลส์ 2 จนบินข้ามมหาสมุทรได้
เที่ยวบินสุดท้ายนี้ มีระยะทางประมาณ 2,368 กม. ปลายทางอยู่ที่สนามบิน Al Bateen ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือเป็นเที่ยวบินที่ 17 นับแต่แต่ออกบินเที่ยวแรก ในระยะทางรวมรอบโลกราว 35,000 กม. โดยมีรายละเอียดดังนี้ (วันที่เป็น UTC)
เทียวบินที่ 1: 9 มีนาคม 58 จากอาบูดาบี ไปโอมาน ระยะทาง 772 กม. ใช้เวลา 13 ชั่วโมง 1 นาที
เทียวบินที่ 2: 10 มีนาคม 58 จากโอมานไปเมืองอาห์เมดาบัด (Ahmedabad) ของอินเดีย ระยะทาง 1,593 กม. ใช้เวลา 15 ชั่วโมง 20 นาที
เทียวบินที่ 3: 18 มีนาคม 58 จากเมืองอาห์เมดาบัด (Ahmedabad) ไปยังเมืองพาราณสี ในอินเดีย ระยะทาง 1,170 กม. ใช้เวลา 13 ชั่วโมง 15 นาที
เทียวบินที่ 4: 18 มีนาคม 58 จากพาราณสี ไปพม่า ระยะทาง 1,536 กม. ใช้เวลา 13 ชั่วโมง 29 นาที
เทียวบินที่ 5: 29 เมษายน 58 จากพม่า ไปฉงชิ่งในจีน ระยะทาง 1,636 กม. ใช้เวลา 20 ชั่วโมง 29 นาที
เทียวบินที่ 6: 21 เมษายน 58 จากฉงชิ่งไปนานกิง ระยะทาง 1,384 กม. ใช้เวลา 17 ชั่วโมง 22 นาที
เทียวบินที่ 7: 30 พฤาภาคม 58 จากนานกิง ไปนาโงยา ของญี่ปุ่น ระยะทาง 2,942 กม. ใช้เวลา 1 วัน 20 ชั่วโมง 9 นาที
เทียวบินที่ 8: 28 มิถุนายน 58 จาก นาโงยา ไปฮาวาย ระยะทาง 8,924 กม. ใช้เวลา 4 วัน 21 ชั่วโมง 52 นาที
จอดซ่อมยาว จากระบบแบตเตอรีเสียหาย
เทียวบินที่ 9: 21 เมษายน 59 จากฮาวาย ไปแคลิฟอร์เนีย ระยะทาง 4,523 กม. ใช้เวลา 2 วัน 17 ชั่วโมง 29 นาที
เทียวบินที่ 10: 2 พฤาภาคม 59 จากแคลิฟอร์เนียไปอริโซนา ระยะทาง 1,199 กม. ใช้เวลา 15 ชั่วโมง 52 นาที
เทียวบินที่ 11: 12 พฤาภาคม 59 จากอริโซนา ไปโอกลาโฮมา ระยะทาง 1,570 กม. ใช้เวลา 18 ชั่วโมง 10 นาที
เทียวบินที่ 12: 21 พฤาภาคม 59 จากโอกลาโฮมา ไปโอไฮโอ ระยะทาง 1,113 กม. ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 34 นาที
เทียวบินที่ 13: 25 พฤาภาคม 59 จากโอไฮโอ ไปเพนซิวาเนีย ระยะทาง 1,044 กม. ใช้เวลา 16 ชั่วโมง 47 นาที
เทียวบินที่ 14: 11 มิถุนายน 59 จากเพนซิวาเนีย ไป นิวยอร์ค ระยะทาง 230 กม. ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 41 นาที
เทียวบินที่ 15: 20 มิถุนายน 59 จากนิวยอร์ค ไปประเทศสเปน ระยะทาง 6,765 กม. ใช้เวลา 71 ชั่วโมง 8 นาที
เทียวบินที่ 16: 11 กรกฏาคม 59 จากสเปนไปอียิปต์ ระยะทาง 3,745 กม. ใช้เวลา 48 ชั่วโมง 50 นาที
เทียวบินที่ 17 : 23 กรกฏาคม 59 จากอียิปต์ไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ครบรอบโลก
เบอร์แทรนด์ พิคาร์ด หนึ่งในสองนักบินและผู้ร่วมก่อตั้งร่วมกับอังเดร บอร์ชเบิร์ก สวมกอดภรรยาก่อนออกบินเที่ยวสุดท้าย จากไคโร (รูปล่างสุด) ได้ย้ำให้โลกมั่นใจถึงความสำเร็จของการเลิกพึ่งพาพลังงานฟอสซิลที่ก่อมลพิษอีกทั้งยังทำให้โลกร้อน และได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ผมพนันว่าโลกเราจะมีเครื่องบินพลังงานแสงอาทิตย์ขนราด 50 ที่นั่งภายใน 10 ปีจากนี้”
อ้างอิงและเครดิตภาพ http://www.bbc.com/news/science-environment-36867613
http://www.solarimpulse.com/
http://www.gizmag.com/solar-impulse-2-last-leg/44385/