จรวด PSLV-C30 ขึ้นจากฐานยิงทางตอนใต้ของศรีหาริโคตร (Sriharikota) รัฐอันตระประเทศ (Andhra Pradesh) นำกล้องโทรทรรศน์อวกาศตัวแรกของอินเดีย ASTROSAT ขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จ
ก้าวหน้าไม่หยุดสำหรับองค์การอวกาศอินเดียหรือ ISRO หลังจากส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดาวอังคารเป็นผลสำเร็จมาแล้วชนิดที่นาซาอ้าปากค้าง เพราะสามารถทำมุมเข้าวงโคจรดาวอังคารในรอบแรกโดยไม่ทำมุมผิดพลาดกระเด้งกระดอนหาย ต่างจากยนอวกาศของหลายๆชาติทั้งรัสเซีย จีน แม้แต่นาซาที่เคยพลาดมาแล้วขณะเข้าสู่วงโคจรดาวแดง
ล่าสุดเช้าวันนี้ ขณะที่โลกกำลังตื่นเต้นกับปรากฏการณ์จันทรุปราคาซุปเปอร์มูนอยู่นั้น ทาง ISRO ก็ได้ส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ ASTROSAT ขึ้นสู่วงโคจรเแ็นผลสำเร็จโดยยัดใส่รวมไปในจรวด PSLV-C30 ร่วมกับดาวเทียมต่างชาติขนาดเล็กอีกหลายดวงเช่นดาวเทียมของอินโดฯ แคนาดา ฯลฯ นัยว่ายิงนกทีเดียวได้หลายตัวเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ASTROSAT จะขึ้นไปอยู่ที่วงโคจรในระดับความสูงจากผิวโลก 650 กิโลเมตรในภารกิจ 5 ปี เป็นกล้องชนิด multi-wavelength space-based ซึ่งจะช่วยให้ศึกษาอวกาศในห้วงลึกได้หลากหลายรูปแบบ โดยติดตั้งอุปกรณ์เอาไว้ทั้งสิ้น 6 ตัว ได้แก่
- The UltraViolet Imaging Telescope (UVIT)
- Soft X-ray imaging Telescope (SXT)
- LAXPC Instrument
- Cadmium Zinc Telluride Imager (CZTI)
- Scanning Sky Monitor (SSM)
- Charged Particle Monitor (CPM)
ซึ่งทำให้ศึกษาอวกาศได้ตั้งแต่ระดับอนุภาคไปจนถึงคลื่นต่างๆในหลายช่วงความถี่ตั้งแต่ UV ไปจนถึง X-Ray โดยอุปกรณ์ทั้งหมดรวมทั้งตัวยานจะถูกสั่งการจากภาคพื้นดินที่ ฐาน ISAC ในบังกาลอร์
กล้องโทรทรรศน์อวกาศ ASTROSAT จะโคจรรอบโลกวันละ 14 รอบ โดยจะส่งข้อมูลประมาณ 420 กิกะบิทจากการสำรวจอวกาศลงมาที่ฐานภาคพื้นดินของ ISRO ในทุกๆวัน และการติดตามการเคลื่อนที่ของ ASTROSAT จะใช้จานสายอากาศขนาด 11 เมตรของ ISDN หรือ Indian Deep Space Network
ช่างก้าวหน้าไวดีแท้
อ้างอิง http://www.dnaindia.com/scitech/report-india-launches-its-first-dedicated-space-observatory-astrostat-2129379
เรียบเรียงโดย @MrVop