ประกาศให้ทะลรอส เป็นเขต MPA (เขตปกป้องทางทะเล) นาน 35 ปี
ตัวแทนจาก 24 ประเทศทั่วโลกร่วมกับสหภาพยุโรปและรัสเซีย ประกาศให้พื้นที่ทะเลรอสในขั้วโลกใต้ เป็นเขตคุ้มครองทางทะเลที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก
ข้อตกลงที่ประกาศร่วมกันในการประชุม Commission for the Conservation of Antarctic Marine Living Resources หรือ CCAMLR ที่เมืองโฮบาร์ต ประเทศออสเตรเลีย นานาชาติเห็นว่าพื้นที่ขนาดหนึ่งล้านห้าแสนเจ็ดหมื่นตารางกิโลเมตรของทะเลรอสแห่งขั้วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกา จากนี้ไปให้ถือเป็นเขตคุ้มครองทางทะเล (Marine Protected Area) หรือ MPA จับจับสัตว์น้ำทุกชนิดเพื่อการค้าเป็นระยะเวลายาวนาน 35 ปี การห้ามนี้หมายรวมถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่นี้ในเชิงแร่ธาตุทุกชนิดด้วย (ห้ามขุดน้ำมัน แก้สฯลฯ)
ทะเลรอสเป็นแหล่งกำเนิด ที่อยู่อาศัย และที่ผสมพันธุ์ของสัตว์ทะเลหายาก นก และสิ่งมีชีวิตอื่นๆกว่า 10,000 สายพันธุ์ ขนาดเล็กตั้งแต่แพลงตอน กุ้งคริลล์ ไปถึงขนาดใหญ่อย่าง วาฬมิงก์ นอกจากนี้ยังมี นกเพนกวินอาเดลี นกทะเลแอนตาร์กติก หมึกยักษ์ และปลาอีกหลายหลายชนิด
การหยุดล่าสัตว์ในเขตนี้ยาวนานถึง 35 ปี แน่นอนว่าจะส่งผลดีต่อประชากรสัตว์ทะเลรวมถึงการฟื้นตัวและเป็นแหล่งหลบภัยของซาฬหรือปลาที่เดินทางมาจากที่อื่น ซึ่งในระยะเวลาผ่านไปที่นี่จะกลายเป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และถือเป็นเรื่องน่ายินดีเพราะการประกาศนี้เป็นเสียงเอกฉันท์จากมหาอำนาจหลายประเทศตั้งแต่สหรัฐฯ จีน อียู และแม้รัสเซียซึ่งเคยปฎิเสธในการประชุมรอบก่อนๆ มารอบนี้ก็ลงคะแนนเห็นด้วย
ทะเลรอสคือพื้นที่สีเขียวในรูปกลางบทความ
ภาพล่างคึอ Jillian Dempster ตัวแทนจากนิวซีแลนด์ และ Evan Bloom ตัวแทนสหรัฐฯ กับหลายเซ็นของตัวแทนจากนานาชาติบนแผนที่เขตคุ้มครองทะเลรอสที่มีมติจะร่วมกันก่อตั้งเป็นเขตปกป้องทางทะเล (MPA)
เรียบเรียงโดย @MrVop