Happy martian new year 2017 !!
ดาวอังคาร ดาวที่มีขนาดเล็กครองตำแหน่งรองบ๊วยในระบบสุริยะ (ปิดท้ายด้วยดาวพุธ) แต่เพราะมันเป็นเป้าหมายที่มนุษย์จะไปตั้งรกรากในอนาคต ก็เลยต้องสร้างความคุ้นเคยกันซะหน่อย นักดาราศาสตร์ถึงกับกำหนด “วันขึ้นปีใหม่” ให้ดาวอังคารกันเลยทีเดียว
ปีใหม่ คำนี้หมายถึงวันที่โลกโคจรครบรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และสำหรับดาวอังคารซึ่งอยู่ห่างดวงอาทิตย์ออกไป แน่นอน เส้นทางโคจรเลยไกลกว่า ดังนั้น 1 ปีของดาวอังคารหรือ 1 วงรอบดวงอาทิตย์จึงมีระยะเวลาเท่ากับ 687 วัน (วันของโลกเรา)
แล้วทำไมต้องเป็น 5 พ.ค. (จริงๆเผื่อกว้างๆเป็น 4-6 พ.ค.) นั่นเพราะวันนั้นเป็นวัน “วิษุวัต” ของดาวอังคารนั่นเอง
“วิษุวัต” คือวันที่เส้นศูนย์สูตรของดาวเคราะห์ตั้งฉากกับดวงอาทิตย์ เป็นวันที่กลางคืนและกลางวันยาวเท่ากัน ณ เส้นศูนย์สูตร ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูบนโลกเรา
ความพิเศษของดาวอังคาร คือมันมีแกนเอียงคล้ายโลกเรา ดังนั้น ดาวอังคารก็เลยมีฤดูกาลแบบเดียวกับโลก มีฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ (แต่ไม่มีใบไม้นะ) ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง
เมื่อมีฤดูกาล ดาวอังคารก็เลยมีวัน “วิษุวัต” คือวันที่เส้นศูนย์สูตรตั้งฉากกับดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน และปีนี้ตรงกับวันที่ 5 พ.ค.บนโลก
แต่สำหรับหุ่นยนต์ที่ไปปฏิบัตืหน้าที่อยู่บนดาวอังคาร หรือในอนาคตอาจมีมนุษย์ขึ้นไปตั้งรกรากอยู่บนนั้น เราจะใช้การนับวันที่ต่างออกไป เรียกว่าวัน Sols โดย 1 Sols หรือ 1 วันบนดาวอังคารจะมี 24 ชั่วโมง 39 นาที กับ 35.244 วินาที คือยาวกว่าโลกเกือบ 40 นาทีต่อวัน ดังนั้น 1 ปีของชาวดาวอังคารจะมี 669 วัน Sols การที่ต้องนับวันแบบนี้ก็เพื่อให้การกินอยู่หลับนอนบนนั้นเป็นปกติตรงกับเวลาอาทติย์ขึ้นอาทิตย์ตกของดาวแดงพอดี และมาแปลงหน่วยเวลาเอาเวลาจะสื่อสารกับโลก
เรียบเรียงโดย @MrVop
เครดิตภาพจาก/ดูคลิปเพิ่มเติมที่ http://www.space.com/36741-nasa-wishes-mars-happy-new-year.html