ยานจูโนส่งรูปถ่ายดาวพฤหัสในมุมที่ไม่มีใครเคยเห็นมาให้ชม

ภาพขั้วเหนือของดาวพฤหัส ก่อนะที่ยานจูจะโคจรเข้าเฉียดใกล้ยอดเมฆที่ระยะ 4,200 กม.
จากบนโลกเรา หรือแม้แต่จากยานอวกาศลำอื่นในอดีต เราจะเคยพบแต่ภาพดาวพฤหัสในมุมมองด้านข้าง ด้านที่เห็นริ้วเมฆเป็นสีๆ ด้านที่มีจุดแดงใหญ่
ล่าสุดภาพขั้วเหนือขั้วใต้ของดาวเคราะห์แก้สดวงใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ เริ่มปรากฏแก่สายตาชาวโลก ภาพเหล่านี้เป็นผลงานยานอวกาศจูโน
จูโนไปถึงดาวพฤหัสเมื่อ 5 ก.ค.59 ที่ผ่านมาตามเวลาในประเทศไทย แต่ในวันนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายจากการลดความเร็วเข้าสู่วงโคจรและตัวยานต้องทำมุมวิกฤตในการเข้า insertion ทำให้นาซาจำเป็นต้องส่งคำสั่งสั่งให้จูโนปิดเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ถ่ายภาพทุกๆชิ้นของยาน จึงไม่มีการบันทึกภาพใดๆในวันแรกที่ยานเดินทางไปถึง

ภาพขั้วใต้ของดาวพฤหัส ในจังหวะที่ยานจูโนกำลังโคจรถอยห่างออกมาเพื่อเริ่่มเข้าวงโคจรรอบที่ 2/37
แต่เมื่อวันที่ 27 ส.ค.59 หรือสัปดาห์ที่แล้วนี้ ยานจูโนได้โคจรคอบรอบแรกและในจังหวะที่เป็นการเคลื่อนเข้าใกล้ดาวพฤหัส (จูโนโคจรรอบดาวพฤหัสในรูปแบบจากขั้วสู่ขั้ว) ยานก็ได้เปิดกล้องถ่ายภาพและเริ่มบันทึกภาพดาวเคราะห์ยักษ์จากขั้วเหนือไปสู่ขั้วใต้ หลังจากนั้นยานก็ถอยห่างออกมาแล้วเริ่มเข้าสู่วงโคจรรอบที่ 2/37
เราจึงได้มีโอกาสยลโฉมดาวพฤหัสในมุมที่ไม่เคยเห็นกันมาก่อนทั้งด้านบนและด้านล่าง เราได้เห็นกลุ่มพายุหมุนจำนวนมากทั้งสองขั้วดาว (จุดขาวเล็กๆในภาพทั้งสอง) และนอกจากจะเป็นการบันทึกภาพที่เห็นด้วยตาตามปกติแล้วจูโนยังบันทึกค่าสนามแม่เหล็กโดยอุปกรณ์ Radio/Plasma Wave Experiment (Waves) นอกจากนี้ ในภาพด้านล่างก็จะเป็นแสงออโรราที่ขั้วใต้ของดาวที่จูโนสามารถบันทึกไว้ได้ด้วยอุปกรณ์ Jovian Infrared Auroral Mapper (JIRAM)
จากนี้ไปยานจูโนจะทยอยส่งภาพต่างๆมาเป็นระยะ และในการเข้าใกล้ดาวพฤหัสเพื่อทำภารรกิจ Period Reduction Maneuver ในช่วงจังหวะครบรอบวงโคจรรอบที่ 2/37 ในเดือน วันที่ 20 ต.ค.59 นี้ เราอาจได้ภาพและข้อมูลที่น่าสนใจกันอีกครั้ง
เครดิตภาพ NASA/JPL CALTECH/SWRI/MSSS
เรียบเรียงโดย @MrVop