รวมรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่เคยเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยในระดับพายุโซนร้อนขึ้นไปถึงไต้ฝุ่น
คำว่า “พายุเข้าไทย” ในความหมายของอุตุฯหมายถึงพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชัน,พายุโซนร้อน,ไต้ฝุ่น) เคลื่อนเข้าพรมแดนไทยโดยวัดที่ “จุดศูนย์กลางพายุ” ไม่ใช่ขอบด้านใดด้านหนึ่ง
การ “ขึ้นฝั่ง” หมายถึงพายุหมุนเขตร้อน (ดีเปรสชัน,พายุโซนร้อน,ไต้ฝุ่น) เคลื่อนจากทะเลขึ้นฝั่งประเทศไทยโดยวัดที่ “จุดศูนย์กลางพายุ” ไม่ใช่ขอบด้านใดด้านหนึ่ง
ช่วงเวลา 52 ปี (พ.ศ.2495-2547) มีพายุหมุนเขตร้อน ระดับที่แรงความดีเปรสชัน นั้นคือระดับพายุโซนร้อนขึ้นไป ได้ “เข้าไทย” จำนวนทั้งสิ้น 12 ลูก โดยมีความแรงระดับพายุไต้ฝุ่นเพียง 1 ลูก ได้แก่
- พายุไต้ฝุ่น “เว้” (Vae) พ.ศ. 2495 เข้าไทย 22 ต.ค. ที่ จ.ตราด ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุโซนร้อน “แฮร์เรียต” (Harriet) พ.ศ. 2505 เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ แหลมตะลุมพุก 25 ต.ค.ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “ทิลดา” (Tilda) พ.ศ. 2507 เข้าไทย ที่ จ.นครพนม 23 ก.ย. ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “ดอริส” (Doris) พ.ศ. 2512 เข้าไทย ที่ จ.นครพนม 31 ส.ค. ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุโซนร้อน “รูท” (Ruth) พ.ศ. 2513 เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 30 พ.ย.ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “แซลลี” (Sally) พ.ศ. 2515 เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ที่ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “เกย์” (Gay) พ.ศ.2532 เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ในสภาพพายุไต้ฝุ่น
- พายุไต้ฝุ่น “เบกกี” (Becky) พ.ศ.2533 เข้าไทยที่ จ.หนองคาย เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “เฟรด” (Fred) พ.ศ.2534 เข้าไทยที่ จ.นครพนม เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุโซนร้อน “ฟอร์เรสต์” (Forrest) พ.ศ.2535 ขึ้นฝั่งที่ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 พ.ย.ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “ลินดา” (Linda) พ.ศ.2540 เคลื่อนตัวขึ้นฝั่ง ที่อำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ในสภาพพายุโซนร้อน
- พายุไต้ฝุ่น “จันทู” (Chanthu) พ.ศ.2547 เข้าไทยที่ จ.อุบลธราชธานี เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ในสภาพพายุโซนร้อน