ภูเขาน้ำแข็งยักษ์ A68 เริ่มเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลแล้ว
ช่วงเวลานี้เป็นฤดูหนาวของขั้วโลกใต้ ด้วยความเอียงของแกนโลก ขั้วโลกใต้จะตกอยู่ในความมืดเกือบตลอดเวลา ทะเลโดยรอบจะมีแผ่นน้ำแข็งลอยอยู่และมีเมฆปกคลุมค่อยข้างหนา
แต่ภาพจากทวิตเตอร์ของดาวเทียมเดมอส-วัน (Deimos-1) ที่โคจรสังเกตการในแนวขั้วโลก เปรียบเทียบช่วงเวลา 2 วันอันได้แต่วันที่ 14 ก.ค.60 และ 18 ก.ค.60 ใช้กล้องถ่ายภาพในย่านอินฟราเรดเพื่อให้มองเห็นทะลุเมฆในยามค่ำคืน พบว่าก้อนน้ำแข็งยักษ์ขนาด 5,800 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่ากรุงเทพฯเกือบ 4 เท่า) เริ่มมีการเลื่อนตัวออกไปทางทะเลเวดเดลล์ (ในภาพจะเห็นทะเลเว็ดเดลล์จับตัวเป็นแผ่นน้ำแข็งอยู่ทางขวา แต่น้ำแข็งทะเลหรือ Sea ice นี้จะบางมาก ) เป็นผลให้เกิดรอยแตกบนแผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่เหนือทะเล ส่วนด้านทิศเหนือของ A68 จะเห็นการแยกตัวชัดเจน จนเห็นน้ำทะเลเบื้องล่าง จุดนี้เป็นจุดสุดท้ายที่เชื่อม A68 ไว้กับหิ้งน้ำแข็ง ลาเซ็น-ซี (Larsen C)
#DEIMOS1 multitemporal animation shows #Antarctica's #LarsenC ice shelf & drifting #A68 #iceberg on July 14 & July 18 #ChangeDetection pic.twitter.com/s4ck0hLa5a
— Deimos Imaging (@deimosimaging) July 20, 2017
นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ในช่วงแรก A68 จะไม่เคลื่อนตัวเร็วเพราะมีการต้านทานจากแรงโคริออลิส (Coriolis) ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลกในทิศตรงข้ามกับการแยกตัว แต่อีกไม่นานก็จะพ่ายแพ้แก่กระเสน้ำด้านใต้และกระแสลมด้านบน คาดว่า A68 จะมีการเคลื่อนตัวจากทะเลเวดเดลล์ขึ้นไปถึงทางตะวันออกของคาบสมุทรแอนตาร์กติก และเข้าสู่มหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ มุ่งหน้าไปยังหมู่เกาะจอร์เจียใต้และหมู่เกาะแซนด์วิชใต้ (South Georgia and South Sandwich Islands) ซึ่งเป็นดินแดนโพ้นทะเลของอังกฤษต่อไป
เรียบเรียงโดย @MrVop