นับถึงวันนี้ เอกภพของเรามีอายุราว 13,780 ล้านปี โดยเริ่มนับวินาทีแรกหลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ของเอกภาวะที่เรียกว่าการเกิด “บิ๊กแบง” จากนั้นในช่วง 4 แสนปีต่อมา เอกภพยังปราศจากกาแล็กซีและดวงดาว ตกอยู่ในช่วงที่เรียกว่า “ยุคมืด” หรือ Cosmic Dark Ages จวบจนเวลาล่วงเลยมาอีกระยะ จึงได้มีดาวดวงแรกๆเกิดขึ้น
ล่าสุด ผลการศึกษาของทีมวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่รายงานในวารสารเนเจอร์ฉบับเมื่อวันที่ 28 ก.พ.61 ที่ผ่านมา ได้ระบุถึงการจับสัญญาณการก่อกำเนิดของดาวฤกษ์ดวงแรกๆหลังยุตมืด ซึ่งเป็นช่วงเวลาประมาณ 180 ล้านปีหลังเกิด “บิ๊กแบง” หรือนับเป็นเวลา 13,600 ล้านปีก่อนยุคปัจจุบัน
การมองไปในอวกาศก็คือการมองย้อนกลับไปในอดีต สัมพันธ์กับเวลาที่แสงต้องใช้เดินทาง และในทุกวันนี้ อุปกรณ์กล้องโทรทรรศน์ที่ดีที่สุดมองไปได้ไกลเพียงแค่ 300 ล้านปีหลังการเกิดบิํกแบง นั้นคือระยะทาง 13,480 ปีแสง หรือ 13,480 ที่แล้ว หากต้องการข้อมูลที่เก่ากว่านั้น ก็ต้องใช้ “การฟัง” แทนการมองเห็น
ทีมงานใช้อุปกรณ์ชนาดเท่าโต๊ะกินข้าวเรียกว่า EDGES (Experiment to Detect the Global EoR Signature) ติดตั้งไว้กลางทะเลทรายที่เปลี่ยวร้างในทวีปออสเตรเลีย ห่างไกลจากสัญญาณรบกวนต่างๆ
เครื่องนี้จะทำหน้าที่ค้นหาสัญญาณจากอะตอมไฮโดรเจนในยุคเริ่มแรกของเอกภพหรือ EoR ในระหว่างการก่อตัวของดาวฤกษ์รุ่นแรกสุดของเอกภพที่คาดว่าน่าจะเป็นดาวฤกษ์ชนิดดาวมหายักษ์สีน้ำเงินซึ่งประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจนเกือบทั้งดวง และเกิดการแผ่่รังสี UV ออกมาสู่กลุ่มเมฆไฮโดรเจนที่รายล้อมรอบดาวอยู่ขณะที่ก่อกำเนิด เมฆเหล่านั้นจะสะท้อนและดูดซิมรังสีจนเกิดสัญญาณสั่นสะเทือนออกมาในช่วงความถี่ 1.4 GHz แล้วความถี่ก็จะลดลงเมื่อเดินทางห่างออกมา เมื่อเดินทางมาถึงโลกจะเหลือความถี่ที่ 78 MHz นี่คือสิ่งที่เครื่อง EDGES บันทึกเอาไว้ได้
การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นครั้งสำคัญในวงการดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา ที่จะศึกษาต่อไปไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสสารมืดตามเอกสารนี้ หรือความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของเอกภพเพื่อต่อจิ๊กซอที่ขาดหายไปอีกหลายชิ้นจนสมบูรณ์ในวันหนึ่งข้างหน้า
เรียบเรียงโดย @MrVop