นักดาราศาสตร์พบซุปเปอร์โนวาชนิดสว่างยิ่งยวด ในระยะทางห่างไกลจากโลกเราถึง 1 หมื่นล้านปีแสง
ระหว่างการค้นหาพลังงานมืดในเอกภพด้วยกล้อง DECam หรือ Dark Energy Camera ที่ติดตั้งอยู่ที่กล้องดูดาว Blanco 4-m ในหอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory ประเทศชิลี นักดาราศาสตร์ได้พบ DES15E2mlf ซึ่งเป็นมหานวดารา หรือ ซุปเปอร์โนวาชนิดสว่างยิ่งยวดหรือ superluminous supernova ซึ่งคำนวนระยะห่างออกมาได้เป็นระยะทางที่ไกลที่สุดที่เคยพบซุปเปอร์โนวาชนิดนี้มา นั่นคือ 1 หมื่นล้านปีแสง
ซุปเปอร์โนวานี้มีความสว่างเท่ากับความสว่างของดาวฤกษ์ทั่วไปในทางช้างเผือกจำนวน 1 แสนล้านดวงรวมกัน มีต้นกำเนิด (ระเบิด) ในช่วง 3 พัน 5 ร้อยล้านปีหลังเหตุการณ์บิ๊กแบง ซึ่งเป็นช่วงที่ดวงดาวทั้งหลายจำนวนมากมายกำลังก่อตัวขึ้น เรียกว่าช่วง ‘cosmic high noon’
ซุปเปอร์โนวานี้ตั้งอยู่ในกาแล็กซีแห่งหนึ่งที่มีมวลราว 3 พัน 5 ร้อยล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์เรา ถือว่าหนักกว่ากาแล็กซีชนิด SLSN-I ที่มีลักษณะคล้ายแบบนี้แห่งอื่นๆ
การค้นพบซุปเปอร์โนวาชนิดนี้ถือเป็นก้าวสำตัญที่จะสืบสาวไปถึงสภาวะเริ่มต้นขณะก่อกำเนิดเอกภพ
รายละอียดการค้นพบ ตีพิมพ์ลงในวารสาร Monthly Notices of the Royal Astronomical Society และตีพิมพ์ลงในเว็บ arXiv.org ด้วย
เครดิตภาพ D. Gerdes / S. Jouvel.