งูพิษทั้ง 2 สปีชีส์ทึ่พบใหม่เป็นงูพิษในสกุล Gloydius ชนิดแรก (ภาพ A, B ด้านบน) พบในเมืองหยิงฉี เขตปกครองตนเองทิเบต ชนิดที่ 2 (ภาพ C, D) พบในเมืองเฮ่ยซุ่ย จังหวัดปกครองตนเองทิเบตอาปาและเกวียง มณฑลเสฉวน
งูพิษสกุล Gloydius นี้ เป็นงูที่พบได้ทั่วไปทางตอนเหนือของทวีปเอเชีย มีขนาดไม่ใหญ่มาก มีอวัยวะพิเศษระหว่างจมูกกับตาที่สามารถสำผัสความร้อนที่แผ่ออกมาจากร่างกายของสัตว์เลือดอุ่น ทำให้พวกมันได้เปรียบในการออกล่าสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็กยามค่ำคืนเป็นอาหาร
งูที่พบใหม่ชนิดแรก (ภาพ A, B) มีชื่อสามัญว่า “งูกะปะนู่เจียง” ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gloydius lipipengi มีหลังสีน้ำตาลอมเทา มีลายดำรูปวงแหวนตลอดลำตัว มีแถบกว้างสีน้ำตาลแกมเทาด้านหลังตา และมีเขี้ยวพิษที่ค่อนข้างสั้น
งูชนิดที่ 2 ที่พบมีชื่อสามัญว่า “งูกะปะธารน้ำแข็ง(กราเซีย)” ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Gloydius swild ส่วนใหญ่หลังมีสีเทาอมฟ้า มีลายซิกแซกตลอดลำตัว และมีแถบเข้มค่อนข้างแคบหลังตา พบได้ทางทิศตะวันออกของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และภูเขาเหิงตวนซาน เมืองเฮยซุ่ย
ทีมงานจาก Chinese Academy of Sciences และ มหาวิทยาลัย Shenyang Normal University นำโดย Dr. Jing-Song Shi บรรยายถึงช่วงเวลาที่พบเจ้างูพิษแห่งธารน้ำแข็ง (ชนิดที่ 2) ว่าทีมงานพบงูนี้ท่ามกลางความสวยงามของธารน้ำแข็งที่โอบล้อมด้วยขุนเขา ไกลออกไปจากป่าไม้ใบกว้างหลากสีสันและหมอกยามเช้าที่ตกลงมาเหนือหมู่บ้าน อีกทั้งยังพบชาวบ้านทิเบตอัธยาศัยดี ทำให้เป็นทริปการเดินทางที่ยากจะลืมเลือน
ทีมงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานการค้นพบครั้งนี้ลงในวารสาร ZooKeys