มีหลักฐานชัดเจนจากยาน MRO ยืนยันว่าบนดาวอังคารทุกวันนี้ มี “น้ำ” ที่ยังไหลได้
ตั้งแต่ปี 2010 ยาน MRO หรือ Mars Reconnaissance Orbiter ได้ตรวจพบร่องรอยสีคล้ำเป็นทางยาวบนลาดเนินของขอบหลุมอุกกาบาต Hale บนดาวอังคารจากภาพถ่ายของกล้อง HiRISE ที่ติดตั้งอยู่บนตัวยาน ซึ่งในภาพถ่ายครั้งต่อๆมาพบว่า ร่องรอยเหล่านั้นมีขนาดความยาวที่เพิ่มขึ้น ยืดยาวลงมาตามลาดเนิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะปกติบนพื้นผิวดาวที่เชื่อกันมานานว่าแห้งตายสนิทแบบนั้น
มันคือสัญญาณที่บอกให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ควบคุมโครงการว่าตื่นตัว และเตือนให้รู้ว่าต้องจับตาดูให้ดี เราน่าจะพบของดีเข้าให้แล้ว
ดาวอังคารนั้นมีแกนดาวทำมุมเอียง 25.19° คล้ายโลกของเราทำให้เกิดมีฤดูกาลร้อนหนาวบนดาวแดงสลับกันสองขั้วดาวแบบเดียวกับพิภพที่เราอาศัยอยู่ ร่องรอยสีคล้เป็นทางยาวำที่ยาน MRO พบนั้นเราเรียกมันว่า RSL (recurring slope lineae) มันจะยาวลงมาจากสูงลงต่ำตามลาดเอียงในช่วงที่ดาวอังคารมีอากาศอุ่นกว่า -23°C และจางหายไปเมื่ออากาศเย็นลงกว่านั้น
ทำไมมันยาวขึ้น หรือมันเป็นของที่ไหลได้ ?
น้ำยังไงล่ะ ของที่ไหลได้ เราพบน้ำแล้ว !!!
แต่….น้ำจะไปอยู่บนดาวเคราะห์ที่ความกดอากาศต่ำและทั้งแห้งทั้งเย็นขนาดนั้นได้อย่างไร เพราะแค่คุณวางแก้วใส่น้ำเปล่าๆบนดาวอังคาร น้ำในแก้วนั้นจะระเหยหายไปอย่างรวดเร็ว
นั่นไง ของเหลวที่ยังไหลลงเนินได้ที่อุณหภูมิ -23°C มันคงไม่ใช่น้ำเปล่าๆแน่นอน
คำตอบคือมันไม่ใช่น้ำล้วนๆ มันเป็นของเหลวเกลือไฮเดรต และนี่คือเหตุผลที่มันยังไหลได้ไม่กลายเป็นน้ำแข็งแม้อุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์ถึง 23 องศา
ของเหลวแบบนี้มันไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต และก้าวต่อไปคืออะไร
ก้าวต่อไปคือเราอยากรู้ว่า น้ำที่เกลือไฮเดรตดูซับเอามาใส่ตัวมันจนไหลได้นั้นมันดูดมาจากไหน บรรยากาศหรือใต้ผิวดาว และหากเป็นอย่างหลัง โอกาสที่จะพบน้ำจริงๆที่เหมาะกับชีวิตก็มีสูงกว่าที่เคยติดกันไว้มาก
ณ วันนี้ ดาวอังคารไม่ใช่ดาวแห้งตายซากแบบที่เราเคยคิดกันอยู่อีกต่อไป
เครดิตภาพและคลิปจาก JPL และ
อ้างอิง http://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=4722
http://blogs.discovermagazine.com/outthere/2015/09/28/10-quick-thoughts-about-water-on-mars/#.VgngiOztlHz
เอกสารการค้นพบ ลงตีพิมพ์ใน http://www.nature.com/ngeo/journal/vaop/ncurrent/full/ngeo2546.html
เรียบเรียงโดย @MrVop