6 คุลาคม 58 เป็นวันครบรอบ 20 ปีที่เราพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรก
ดวงอาทิตย์ของเรา ไม่ใช่ดาวฤกษ์ดวงเดียวที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบๆเป็นระบบ หรือที่เรียก “ระบบสุริยะ”
ในวันนี้เมื่อ 20 ปีก่อน เราได้พบระบบดาวฤกษ์อื่นที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบเป็นครั้งแรก ในระบบดาวม้าบินหรือ Pegasus ห่างจากเราออกไป 50 ปีแสง
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรกที่เราพบ ถูกตั้งชื่อว่า 51 Pegasi b
จำนวนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ถูกพบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหลายปีต่อๆมา และล่าสุดในเดือนนี้ จำนวนที่พบนั้นเกิน 1,950 ดวงไปแล้ว โดยในจำนวนนี้ มีมากกว่า 1,000 ดวงที่ค้นพบโดยยาน Kepler ของนาซา
มีการบัญญัติศัพท์คำว่า exoplanet ขึ้นมาใช้ (ย่อมาจาก extrasolar planet) เพื่อให้ต่างไป planet ที่หมายถึงดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราเอง
20 ปี ผ่านไปอย่างรวดเร็ว การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบก็ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เผื่อว่วันนึง เราอาจได้พบดาวเคราะห์นอกระบบดวงใดดวงหนึ่งที่ดูแล้วน่าจะมีอารยธรรมก่อกำเนิดได้คล้ายโลกเรา หรืออย่างน้อยก็ควรมี
จักรวาลนี้ จะได้ไม่เวิ้งว้างว่างเปล่าอีกต่อไป
ภาพ http://planetquest.jpl.nasa.gov/page/20-years
เรียบเรียงโดย @MrVop
ติดตามความคืบหน้าในการค้นหาดาวของยานเคปเลอร์ได้ที่ http://www.nasa.gov/kepler