ดาวเคราะห์น้อย 2012 TC4 ขนาดราว 13-16 เมตร (ประมาณบ้านหลังหนึ่ง) จะพุ่งเฉียดโลกที่ระยะห่าง 50,180 กิโลเมตร ณ ตำแหน่งเหนือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ในวันที่ 12 ตุลาคม 2560นี้ 12:42 ช่วงหลงเที่ยงวัน ตามเวลาไทย ด้วยความเร็ว 7.6 กิโลเมตรต่อวินาที
ขนาดของ ดาวเคราะห์น้อย 2012 TC4 เล็กกว่าดาวเคราะห์น้อยลูกที่ตกที่เขตเชลยาบินสก์ ประเทศรัสเซียเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เล็กน้อย แต่สำหรับดาวเคราะห์น้อย 2012 TC4 นี้จะไม่ตกเข้ามาในบรรยากาศโลก มันจะโคจรเฉียดผ่านไปและวนกลับมาใหม่อีกครั้งทุกๆ 5 ปี โดยในแต่ละครั้งที่กลับมาจะมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน
เมื่อ 5 ปีก่อน ในวันที่ 4 ตุลาคม 2555 คือครั้งแรกที่มันเข้าใกล้โลกแล้วกล้องโทรทรรศน์ Pan-STARRS F51 ที่เกาะฮาวายจับภาพไว้ได้ ครั้งนั้นมันโคจรผ่านโลกที่ระยะห่างกว่านี้คือ 94,800 กิโลเมตร ช่วงที่มีการค้นพบใหม่ๆมีความตื่นเต้นกันมากเนื่องจากคำนวนวงโคจรในระยะแรกมันจะเฉียดโลกมากว่านี้จนน่ากล้ว แต่หลังจากนั้นเมื่อตัวแปรในการคำนวนมีความพร้อมมากขึ้น ดาวเคราะห์น้อยส่องแสงสลัว (แมกนิจูด 27) ดวงนี้ก็ถูกระบุว่าปลอดภัย
ในภาพอนิเมชันนี้อธิบายถึงเส้นทางของดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์น้อย 2012 TC4 ที่วิ่งเร็วๆในภาพจากขวาไปซ้าย โลกเป็นจุดสีฟ้าในภาพ วงสีม่วงคือวงโคจรดาวเทียมค้างฟ้าที่ห่างโลก 35,800 กิโลเมตร วงโค้งที่มุมบนซ้าย คือดวงจันทร์ที่กำลังโคจรลงมา ซึ่ง ดาวเคราะห์น้อย 2012 TC4 จะโคจรผ่านหน้าดวงจันทร์ที่ระยะห่าง 277,000 กิโลเมตร 14 ชั่วโมงหลังผ่านเข้าใกล้โลก
ถือว่ามีความก้าวหน้าที่ส่องพบดาวเคราะห์น้อยขนาดเล็กกว่าท่ตกที่รัสเซียเมื่อปี 2555 และเครือข่ายป้องกันภัยจากดาวเคราะห์น้อยจะต้องพัฒนาระบบตรวจจับให้ละเอียดกว่านี้ เพราะขนาดดาวเคราะห์น้อยที่เล็กเท่าบ้านนี้หากลงถึงพื้นจะเกิดความเสียหายระดับเมืองเลยทีเดียว
เรียบเรียงโดย @MrVop