ดาวหางสีเขียวขนาดราว 1 กิโลเมตร เข้าใกล้โลกเมื่อ 11 ก.พ. ที่ผ่านมา
ดาวหาง 45P ฮอนดา-มาร์กอส-ไปดูชาโกวา (Honda–Mrkos–Pajdušáková) เคลื่อนผ่านโลกไปเมื่อ 11 ก.พ.60 ที่ผ่านมา ชื่อที่ยาวเหยียดของดาวหางดวงนี้มาจากนามสกุลของผู้ค้นพบทั้ง 3 นั่นคือ มิโนรุ ฮอนดา แอนนโตนิน มาร์กอส และ ลุดมูลา ไปดูชาโควา เมื่อ 8 มิถุนายน 2011 โดยใช้กล้องวิทยุโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน และดาวหางดวงนี้ถือเป็นดวงที่ 15 ในจำนวนทั้งหมดที่ค้นพบด้วยวิธีการนี้
ภาพด้านบนถ่ายโดย Fritz Helmut Hemmerich เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 ก่อนวันเข้าใกล้โลกที่สุด 2 วัน โดยมีรายละเอียดของการตั้งกล้องคลิกดูตามนี้ สีเขียวของหัวดาวหางเกิดจากไดอะตอมมิคคาร์บอนหรือ C2 ซึ่งเป็นรูปแบบของโมเลกุลคาร์บอนที่จะระเหิดเป็นก๊าซเมื่อมีอุณหภูมิสูงถึง 3,642 °C เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับส่วนหัวของดาวหางเลิฟจอย
หลังจากนี้ ดาวหาง 45P จะเดินทางกลับไปวนรอบดาวพฤหัส และจะวนกลับมาใหม่ทุกคาบ 5.2 ปี และเหมือนดาวหางทุกดวง จังหวะที่จะเห็นได้ง่ายไม่ใช้ตอนเข้าใกล้โลกแบบนี้ซึ่งต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องดูดาว จังหวะที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่ากลับเป็นคือช่วงที่มันห่างโลกออกไปหน่อยแต่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ซึ่งสำหรับ 45P ช่วงเวลาเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ของมันพึ่งผ่านไปเมื่อธันวาคม 2016 ซึ่งทางไทยเราอดดูเพราะมันปรากฏชัดในซีกฟ้าใต้
รอบหน้า 45P จะกลับมาเข้าจุดใกล้ดวงอาทิตย์ในวันที่ 26 เมษายน 2022 ซึ่งก็คงต้องติดตามภาพจากข่าวดาราศาสตร์กันหากตำแหน่งการสังเกตไม่เหมาะจะดูในเมืองไทย
เรียบเรียงโดย @MrVop