ยาน MRO ของนาซาพบจุดที่ยาน สกีอาปาเรลลี ขององค์การอวกาศยุโรปลงกระแทกพื้นดาวอังคารแล้ว
หลังเดินทางนานกว่า 7 เดือน (ออกจากโลกมีนาคม 59) ในอวกาศ ยานอวกาศในโครงการ Exomars ของ ESA หรือองค์การอวกาศยุโรปก็ได้เดินทางไปจนถึงดาวอังคาร ยานในโครงการนี้ประกอบด้วย 2 โมดูลนั่นคือโมดูลโคจร ที่เรียกว่า TGO หรือ Trace Gas Orbiter มีหน้าที่ค้นหาแก้สมีเทนที่เป็นร่องรอยของชีวิตโบราณในบรรยากาศชั้นบนของดาวอังคาร และโมดูล สกีอาปาเรลลี อีดีเอ็ม ( Schiaparelli EDM) ซึ่งเป็นโมดูลที่จะแยกตัวออกจาก TGO เพื่อฝ่าบรรยากาศกางร่มลงไปจอดบนผิวดาว ทำหน้าที่ในการขุดสำรวจแร่ธาตุจากผิวดินและชั้นที่ลึกลงไป เป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจหาร่องรอยของชีวิตต่างพิภพ
แต่โชคไม่ดี ยานสกีอาปาเรลลี ลงกระแทกพื้นและขาดการติดต่อกับหอบังคับการ (คาดว่าเปิดร่วมชะลอความเร็วไม่ถูกจังหวะ) ซึ่งยาน TGO ก็ได้พยายามติดต่อกับยานลูกแต่ไม่สำเร็จ ทาง ESA ไม่สามารถกู้คืนสัญญาณจากสกีอาปาเรลลีได้
ล่าสุดยาน MRO หรือ Mars Reconnaissance Orbiter จากนาซาที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารมา 10 ปีแล้ว (ไปถึง 2549) ก็ได้รับการร้องขอให้เข้าร่วมค้นหากับทีมงาน Exomars จากยุโรป เนื่องจากยาน MRO มีกล้องสำหรับถ่ายภาพผิวดาวติดตั้งอยู่ และเมื่อวันที่ 21 ต.ค. ผ่านมาก็ได้มีข่าวจากนาซาว่า ยาน MRO ได้พบจุดที่น่าจะเป็นจุดตกของ สกีอาปาเรลลี แล้ว แต่ภาพที่ได้ยังไม่ละเอียดมากนักแต่ก็พอจะมองเห็นร่องรอยสีเข้มขนาด 10เมตร x50 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นจุดที่ยานลงกระแทกพื้น วงกลมขาวเล็กในภาพน่าจะเป็๋นร่มชลอความเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่สกีอาปาเรลลีส่งออกมาไม่กี่วินาทีก่อนขาดการติดต่อว่ามีความผิดปกติในขั้นตอนการปล่อยร่ม และสุดท้าก็ไม่อาจติดต่อสกีอาปาเรลลีได้อีก
ก็ถือเป็นเรื่องน่าเสียดายทั้งเงินทั้งเวลา ก็ต้องมาดูกันว่า ESA จะใช้ประโยชน์ยาน TGO ที่เหลืออยู่บนวงโคจรได้มากน้อยแค่ไหน
อ้างอิง http://www.bbc.com/news/science-environment-37731671
เรียบเรียงโดย @MrVop